เลือกดาวน์โหลด... ซ้ายมือสำหรับทำรูปแบบหนังสือ ขวามือสำหรับรูปแบบมือถือหรือแผ่นใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ
Choose a download... left for booklet, right for digital or other use.
ภาษาไทย
"การผูกมัดเจตจำนง" (The bondage of the will)
โดย มาร์ติน ลูเธอร์ (ค.ศ. 1483-1546)
โดย มาร์ติน ลูเธอร์ (ค.ศ. 1483-1546)
บทความนี้แปลจากบทที่ 1 ของ "born slaves" ซึ่งเป็นฉบับย่อ ของ "การผูกมัดเจตจำนง" (the bondage of the will) ฉบับภาษาอังกฤษ (ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1525 ประมาณ 500 ปีที่แล้ว)
สารบัญ
การโต้วาทีข้อที่ 1:
ความผิดบาปของมนุษยชนได้พิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนเท็จ
การโต้วาทีข้อที่ 2:
การปกครองของความบาปพิสูจน์ว่า "เจตจํานงเสรี" เป็นคำสอนที่เทียมเท็จ
การโต้วาทีข้อที่ 3:
"เจตจำนงเสรี" ไม่สามารถทำให้พระเจ้ายอมรับเราได้เพราะการรักษา กฎตามบัญญัติศีลธรรมหรือกฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ
การโต้วาทีข้อที่ 4:
พระเจ้าประทานกฎธรรมบัญญัติให้แก่เราเพื่อนำเรามาถึงพระคริสต์ด้วยการให้ความรู้สึกถึงของความบาป
การโต้วาทีข้อที่ 5:
หลักคำสอนความรอดด้วยความเชื่อในพระคริสต์เท่านั้น ได้พิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนที่ผิดพลาด
การโต้วาทีข้อที่ 6:
ไม่มีพื้นที่สำหรับแนวคิดของการทำบุญหรือการหาผลตอบแทน
การโต้วาทีข้อที่ 7:
"เจตจำนงเสรี" ไม่มีคุณค่าเพราะว่า การกระทำของมนุษย์ไม่ได้เกี่ยวกับความชอบธรรมของมนุษย์ต่อหน้าพระเจ้า
การโต้วาทีข้อที่ 8:
กำปั้นเต็มไปด้วยการโต้วาทีต่างๆ
การโต้วาทีข้อที่ 9:
เปาโลชัดเจนที่สุดในการต่อต้าน "เจตจำนงเสรี"
การโต้วาทีข้อที่ 10:
สภาพของมนุษย์ปราศจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ทำให้เราเห็นว่า "เจตจำนงเสรี" ไม่สามารถทำอะไรพิเศษได้เลย
การโต้วาทีข้อที่ 11:
คนที่มารู้จักพระเยซูคริสต์ ก่อนหน้านั้นก็ไม่ได้นึกถึงพระองค์ และไม่ได้แสวงหาพระองค์หรือเตรียมตัวเองสำหรับพระองค์
การโต้วาทีข้อที่ 12:
ความรอดสำหรับโลกที่เต็มไปด้วยความบาป คือด้วยพระคุณด้วยความเชื่อเท่านั้น
การโต้วาทีข้อที่ 13:
นิโคเดมัส ต่อต้าน "เจตจำนงเสรี" ใน ยอห์น บทที่ 3
การโต้วาทีข้อที่ 14:
"เจตจำนงสันติ" ไม่มีค่าอะไรเลยเพราะว่าความรอดอยู่ในพระคริสต์เท่านั้น
การโต้วาทีข้อที่ 15:
มนุษย์ไม่มีความสามารถที่จะเชื่อข่าวประเสริฐดังนั้นความพยายามของเขาต่างๆ ไม่สามารถช่วยเขาให้รอดได้
การโต้วาทีข้อที่ 16:
การไม่เชื่อสากลพิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนเท็จ
การโต้วาทีข้อที่ 17:
พลังของ "เนื้อหนัง" ในผู้เชื่อที่เที่ยงแท้ได้พิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนเท็จ
การโต้วาทีข้อที่ 18:
การรู้ว่าความรอดไม่ได้ขึ้นอยู่กับ "เจตจำนงเสรี" สามารถทำให้เราสบายใจมากได้
การโต้วาทีข้อที่ 19:
พระเกียรติของพระเจ้าไม่สามารถถูกทำให้มัวหมอง
การผูกมัดเจตจำนง- “พระคัมภีร์สอนอะไร”
พระคัมภีร์เป็นเหมือนหลายๆกองทัพ ที่ต่อต้านแนวคิดว่า มนุษย์มี "เจตจำนงเสรี" ที่จะเลือกและต้อนรับความรอด แต่อย่างไรก็ตาม มันก็เพียงพอสำหรับผมที่จะนำ 2 นายพลเข้ารบ คือ เปาโลกับยอห์น พร้อมกับกองกำลังติดอาวุธบางอย่างของเขา
การโต้วาทีข้อที่ 1: ความผิดบาปของมนุษยชนได้พิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนเท็จ
เพราะว่าในข่าวประเสริฐนั้น ความชอบธรรมซึ่งเกิดมาจากพระเจ้าก็ได้สำแดงออกโดยความเชื่อ และเพื่อความเชื่อ ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า “คนชอบธรรมจะมีชีวิตดำรงอยู่โดยความเชื่อ” เพราะว่าพระเจ้าทรงสำแดงพระพิโรธของพระองค์จากสวรรค์ ต่อความหมิ่นประมาทพระองค์ และความชั่วร้ายทั้งมวลของมนุษย์ ที่เอาความชั่วร้ายนั้นบีบคั้นความจริง เพราะการที่จะรู้จักพระเจ้าได้ก็แจ้งอยู่กับพวกเขา เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงสำแดงแก่เขาแล้ว -โรม 1:17-19
ในโรม 1:18 เปาโลสอนว่า มนุษย์ทุกคน ไม่ยกเว้นใคร สมควรถูกลงโทษจากพระเจ้า:
“พระพิโรธของพระองค์จากสวรรค์ ต่อความหมิ่นประมาทพระองค์ และความชั่วร้ายทั้งมวลของมนุษย์ ที่เอาความชั่วร้ายนั้นบีบคั้นความจริง”
ถ้ามนุษย์ทั้งหลายมี "เจตจำนงเสรี" และในขณะเดียวกัน ทุกคนอยู่ใต้พระพิโรธของพระเจ้าไม่ยกเว้นใคร จำเป็นต้องหมายความว่า "เจตจำนงเสรี" จะเป็นไปในทางเดียวคือ "ความหมิ่นประมาทพระองค์ และความชั่วร้าย"
ดังนั้น อำนาจของ "เจตจำนงเสรี" ที่จะช่วยให้พวกเขาทำดี อยู่ตรงไหน? ถ้า "เจตจำนงเสรี" มีอยู่จริง ดูเหมือนกับว่าไม่มีความสามารถที่จะช่วยให้มนุษย์เข้าหาความรอดได้เพราะว่า มันยังทิ้งพวกเขาใต้พระพิโรธของพระเจ้าอยู่ดี แต่บางคนอาจจะกล่าวโทษผมว่าไม่ได้อ่านคำพูดของเปาโลให้ดีเพียงพอ
พวกเขากล่าวว่าคำพูดของเปาโล "ต่อความหมิ่นประมาทพระองค์ และความชั่วร้ายทั้งมวลของมนุษย์ ที่เอาความชั่วร้ายนั้นบีบคั้นความจริง" ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์ทุกคนไม่ยกเว้นใครผิดบาปในสายพระเนตรพระเจ้า พวกเขาบอกว่า ข้อความ เปิดทางให้เป็นไปได้ว่า บางคนอาจจะไม่ "เอาความชั่วร้ายนั้นบีบคั้นความจริง" แต่เปาโลกำลังใช้ คำศัพท์ภาษาฮิบรูซึ่งทำให้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความหมายคือ ความชั่วร้ายของมนุษย์ทุกคน
นอกจากนี้ ต้องสังเกตดูสิ่งที่เปาโลเขียนในข้อก่อนหน้า ในข้อที่ 16 เปาโลบอกว่าข่าวประเสริฐเป็น "ข่าวประเสริฐนั้นเป็นฤทธานุภาพของพระเจ้า เพื่อให้ทุกคนที่เชื่อได้รับความรอด"
สิ่งนี้จำเป็นต้องหมายความว่านอกจากอำนาจของพระเจ้าในข่าวประเสริฐ ไม่มีใครมีกำลังที่จะกลับใจเข้าหาพระเจ้าด้วยตัวเองได้ เปาโลอธิบายต่อว่า เป็นความจริงสำหรับทั้งชาวยิวและชาวกรีก ชาวยิวรู้กฎธรรมบัญญัติของพระเจ้าอย่างละเอียดแต่สิ่งนี้ไม่ได้ช่วยให้เขาพ้นจากพระพิโรธของพระเจ้า ชาวกรีกได้ประโยชน์จากวัฒนธรรมหลายอย่าง แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้เขาใกล้ชิดกับพระเจ้า มีชาวยิวอยู่กับชาวกรีกที่พยายามอย่างเคร่งครัดที่จะทำให้ตัวเองคืนดีกับพระเจ้า แต่ไม่ว่าพวกเขาจะมีจุดแข็งมากแค่ไหน "เจตจํานงเสรี" ของเขาล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เปาโลไม่ช้าในการกล่าวโทษตัดสินพวกเขาทั้งหลาย
หลังจากนั้นต้องสังเกตดูที่ข้อ 17 เปาโลบอกว่า "ความชอบธรรมซึ่งเกิดจากพระเจ้า" ได้สำแดง ดังนั้นพระเจ้าสำแดงความชอบธรรมของพระองค์แก่มนุษย์ แต่พระเจ้าไม่โง่เขลา ถ้ามนุษย์ไม่จำเป็นต้องรับการช่วยเหลือจากพระเจ้า พระองค์จะไม่ทรงเสียเวลาในการประทานให้ ทุกครั้งที่มีคนบังเกิดใหม่ได้เกิดขึ้นเพราะว่าพระเจ้าได้มาถึงพวกเขาและได้ชนะความโง่เขลาของเขาด้วยการแสดงข่าวประเสริฐให้เขาเห็น
นอกจากนี้เขาไม่สามารถรอดได้ ไม่มีใครในประวัติศาสตร์มนุษย์เคยคิดด้วยตัวเอง ข้อเท็จจริงของพระพิโรธของพระเจ้าเหมือนที่สอนในพระคัมภีร์ ไม่มีใครเคยคิดฝันเกี่ยวกับการได้รับสันติสุขกับพระเจ้าผ่านทางชีวิตและการกระทำของพระผู้ช่วยให้รอดผู้หนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ คือพระเจ้าที่เป็นมนุษย์ด้วยคือพระเยซูคริสต์ ในความเป็นจริงชาวยิวต่อต้านพระคริสต์ไม่ว่าผู้เผยพระวจนะได้สอนมากแค่ไหนก็ตาม ดูเหมือนกับว่าความดีเล็กน้อยที่ชาวยิวกับชาวกรีกได้ทำ (ในสายตาของตัวเอง) ได้ทำให้เขาไม่แสวงหาพระเจ้าและทางของพระองค์ เพราะว่าพวกเขาตั้งใจที่จะดำเนินชีวิตตามทางของตัวเอง ดังนั้น "เจตจำนงเสรี" ยิ่งพยายามก็ยิ่งแย่
ไม่มีกลุ่มที่ 3 ที่ไหนเลยนอกจากผู้เชื่อกับผู้ไม่เชื่อ คือไม่มีกลุ่มไหนที่มีความสามารถที่จะช่วยตัวเองให้รอดได้ คือชาวยิวกับชาวกรีกเป็นมนุษยชาติทั้งสิ้น และทุกคนอยู่ใต้พระพิโรธของพระเจ้า
ไม่มีใครมีความสามารถที่จะกลับใจเข้าหาพระเจ้าได้ คือพระเจ้าต้องปรากฏพระองค์เองให้เขาเห็นก่อน ถ้ามันเป็นไปได้โดย "เจตจำนงเสรี" คงจะมีชาวยิวสักคนนึงที่เคยทำ แบบนั้นและความตั้งใจที่ดีที่สุดของชาวยิว ไม่สามารถช่วยพวกเขาให้ใกล้ขึ้นกับความเชื่อในพระคริสต์ (โรม 1:21; 2:23, 28:29) พวกเขาเป็นคนบาปที่ถูกลงโทษแล้วพร้อมกับทุกคนอื่นๆ ถ้ามนุษย์ทุกคนมี "เจตจำนงเสรี" และมนุษย์ทุกคนเป็นคนบาป และได้ถูกตัดสินแล้ว "เจตจํานงเสรี" นี้ไม่มีอำนาจที่จะนำพวกเขาเข้ามาหาความเชื่อในพระคริสต์ได้ ดังนั้น เจตจำนงของพวกเขาไม่มีเสรีภาพตั้งแต่แรก
การโต้วาทีข้อที่ 2: การปกครองของความบาปพิสูจน์ว่าเจตจํานงเสรีเป็นคำสอนที่เทียมเท็จ
ถ้าเช่นนั้นจะว่าอย่างไร? พวกยิวเราจะได้เปรียบกว่าหรือ? เปล่าเลยเพราะเราได้ชี้แจงให้เห็นแล้วว่า มนุษย์ทุกคนทั้งพวกยิวและพวกกรีกต่างก็อยู่ใต้อำนาจบาป ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า “ไม่มีผู้ใดเป็นคนชอบธรรมสักคนเดียวไม่มีเลย ไม่มีคนที่เข้าใจ ไม่มีคนที่แสวงหาพระเจ้า เขาทุกคนหลงผิดไปหมด พวกเขาเลวทรามเหมือนกันสิ้น ไม่มีสักคนเดียวที่ทำดี ไม่มีเลย ลำคอของพวกเขาคือหลุมฝังศพที่เปิดอยู่ เขาใช้ลิ้นของเขาในการล่อลวง พิษงูร้ายอยู่ใต้ริมฝีปากของเขา ปากของพวกเขาเต็มด้วยคำแช่งด่าอันขมขื่น เท้าของเขาว่องไวในการทำให้นองเลือด ในทางเดินของเขามีความพินาศและความทุกข์ และเขาไม่รู้จักทางแห่งสันติสุข เขาไม่เคยคิดจะยำเกรงพระเจ้า ” เรารู้แล้วว่า ธรรมบัญญัติทุกข้อที่ได้กล่าวนั้น ก็กล่าวแก่พวกที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อปิดปากทุกคน และให้โลกทั้งหมดอยู่ใต้การพิพากษาของพระเจ้า เพราะว่าในสายพระเนตรของพระเจ้า ไม่มีใครถูกชำระให้ชอบธรรมได้โดยการประพฤติตามธรรมบัญญัติ เพราะว่าธรรมบัญญัตินั้นทำให้เรารู้จักบาป แต่เดี๋ยวนี้ความชอบธรรมของพระเจ้านั้นปรากฏนอกเหนือธรรมบัญญัติ ความชอบธรรมดังกล่าวก็ได้รับการยืนยันจากหมวดธรรมบัญญัติและพวกผู้เผยพระวจนะ คือความชอบธรรมของพระเจ้า ซึ่งปรากฏโดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์แก่ทุกคนที่เชื่อ โดยไม่ทรงถือว่าเขาแตกต่างกัน เพราะว่าทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า แต่พระเจ้าทรงมีพระคุณให้เขาเป็นผู้ชอบธรรมโดยไม่คิดมูลค่า โดยที่พระเยซูคริสต์ทรงไถ่เขาให้พ้นบาปแล้ว พระเจ้าได้ทรงตั้งพระเยซูไว้ให้เป็นเครื่องบูชาไถ่บาปโดยพระโลหิตของพระองค์ ความเชื่อจึงได้ผล ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นความชอบธรรมของพระเจ้า ในการที่พระองค์ได้ทรงอดกลั้นพระทัย และทรงยกบาปที่ได้ทำไปแล้วนั้น -โรม 3:9-25
เราต้องให้เปาโลอธิบายคำสอนของเขาเองในโรม 3:9 เขาบอกว่า "ถ้าเช่นนั้นจะว่าอย่างไร? พวกยิวเราจะได้เปรียบกว่าหรือ? เปล่าเลยเพราะเราได้ชี้แจงให้เห็นแล้วว่า มนุษย์ทุกคนทั้งพวกยิวและพวกกรีกต่างก็อยู่ใต้อำนาจบาป" ไม่ใช่แค่ว่าว่ามนุษย์ทุกคนไม่ยกเว้นใครผิดบาปในใจพระเนตรพระเจ้า แต่เขาเป็นทาสถึงความบาปนั้นซึ่งทำให้เขาเป็นคนผิดบาป อันนี้รวมถึงชาวยิวด้วยซึ่งชอบที่จะคิดว่าเขาไม่ได้เป็นทาสของความบาปเพราะว่าพวกเขาได้รับกฎธรรมบัญญัติกับพระเจ้า ดังนั้นไม่ว่าจะพูดถึงชาวยิวหรือชาวกรีกไม่มีใครมีความสามารถที่จะไถ่ตัวเองจากการเป็นทาส แน่นอนมนุษย์ไม่มีความสามารถอะไรเลยที่จะทำความดีสักอย่างได้
ความเป็นทาสของความบาปสากลอันนี้ ได้รวมถึงพวกเขาที่ดูจากภายนอกว่าเป็นคนที่สุภาพเรียบร้อย ไม่ว่ามนุษย์จะสามารถทำความดีได้มากแค่ไหนในธรรมชาติของตัวเอง ยังคงเทียบไม่ได้เหมือนกับความรู้ที่มาจากพระเจ้า สิ่งที่ดีที่สุดเกี่ยวกับมนุษยชาติคือตรรกะและเจตจำนง แต่พวกเราต้องยอมรับว่าสิ่งที่หน้าชื่นชมนี้ได้ตกลงไปในความบาปแล้ว
เปาโลบอกใน โรม 3:10-12, “ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า “ไม่มีผู้ใดเป็นคนชอบธรรมสักคนเดียวไม่มีเลย ไม่มีคนที่เข้าใจ ไม่มีคนที่แสวงหาพระเจ้า เขาทุกคนหลงผิดไปหมด พวกเขาเลวทรามเหมือนกันสิ้น ไม่มีสักคนเดียวที่ทำดี ไม่มีเลย"
ความหมายของคำเหล่านี้ชัดเจน คือถ้าจะรู้จักพระเจ้าก็ด้วยตรรกะและเจตจำนง แต่ในธรรมชาติของมนุษย์ไม่มีใครรู้จักพระเจ้า เพราะฉะนั้นเราต้องสรุปว่า เจตจำนงของมนุษย์เสียไปแล้วและมนุษย์ไม่มีความสามารถด้วยตัวเองที่จะรู้จักพระเจ้าหรือนมัสการพระเจ้าได้
บางคนที่กล้าอาจจะบอกว่าพวกเรามีความสามารถที่จะทำมากกว่าที่เราได้ทำ แต่เราสนใจแค่ว่าสิ่งที่เราสามารถทำได้ ไม่ใช่สิ่งที่เราจะทำหรือไม่ทำแต่ความเป็นจริง พระคัมภีร์ที่เปาโลได้อ้างถึงใน โรม 3:10-12 จะไม่ได้ให้เราแยกแยะแบบนั้น พระเจ้ากล่าวโทษทั้งความไม่สามารถของคนบาปและการกระทำที่ผิดบาปในเวลาเดียวกัน ถ้ามนุษย์มีความสามารถสักนิดนึงที่จะไปในทางของพระเจ้า ก็จะไม่มีความจำเป็นสำหรับพระเจ้าที่จะช่วยให้เขารอด ถ้ามนุษย์มีความสามารถด้วยตัวเอง พระเจ้าก็คงปล่อยให้เขาช่วยตัวเองให้รอด แต่ไม่มีมนุษย์คนใดที่มีความสามารถที่จะพยายามทำมันได้
ในโรม 3:19 เปาโลบอกว่า "เพื่อปิดปากทุกคนและให้โลกทั้งหมดอยู่ใต้การพิพากษาของพระเจ้า" เพราะไม่มีใครสามารถโต้เถียงกับการพิพากษาของพระเจ้า เพราะไม่มีอะไรในใครก็ตามที่สามารถสรรเสริญพระเจ้าได้ แม้แต่เจตจำนงที่เสรีที่จะกลับมาหาพระเจ้า ถ้าใครพูดว่า "ฉันมีความสามารถนิดนึงที่จะกลับมาหาพระเจ้า" นั่นหมายความว่า เขาคิดว่ามีอะไรในเขาที่พระเจ้าต้องชื่นชมแทนที่จะกล่าวโทษ ตาของเขายังไม่ถูกปิด แต่สิ่งนี้ขัดแย้งกับพระวจนะของพระเจ้า
พระเจ้าบอกว่าปากของทุกคนถูกปิด ไม่ใช่แค่คนบางจำพวกที่ผิดบาปต่อหน้าพระเจ้า ไม่ใช่แค่พวกฟาริสีจากยิวที่พระเจ้ากล่าวโทษ ถ้าเป็นแบบนั้น ชาวยิวที่เหลือก็จะมีความสามารถบ้างที่จะรักษากฎธรรมบัผญญัติและหลีกเลี่ยงความผิดบาป แต่แม้แต่คนที่ดีที่สุดก็ถูกกล่าวโทษเพราะการเป็นคนบาป คือเขาก็เป็นคนตายในฝ่ายวิญญาณเช่นเดียวกับคนที่ไม่ได้พยายามที่จะรักษากฎธรรมบัญญัติตั้งแต่แรก มนุษย์ทุกคนเป็นคนไม่ชอบธรรม ผิดบาป และสมควรได้รับการลงโทษจากพระเจ้า สิ่งเหล่านี้ชัดเจนถึงขั้นที่ไม่มีใครสามารถกระซิบสักคำหนึ่งในการต่อว่า
การโต้วาทีข้อที่ 3: "เจตจำนงเสรี" ไม่สามารถทำให้พระเจ้ายอมรับเราได้เพราะการรักษา กฎตามบัญญัติศีลธรรมหรือกฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ
เปาโลบอกในโรม 3:20, “เพราะว่าในสายพระเนตรของพระเจ้า ไม่มีใครถูกชำระให้ชอบธรรมได้โดยการประพฤติตามธรรมบัญญัติ เพราะว่าธรรมบัญญัตินั้นทำให้เรารู้จักบาป”
พูดอีกแบบนึงก็คือว่า ไม่มีใครจะชอบธรรมในสายพระเนตรพระเจ้าด้วยการรักษากฎธรรมบัญญัติ ผมเองเชื่อว่าเวลาเปาโลพูดแบบนี้หมายความว่า กฎธรรมบัญญัติแห่งคุณธรรมและกฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ
มีแนวคิดที่กำลังนิยมอยู่หลายที่ซึ่งเปาโลหมายความว่า กฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ เท่านั้น คือ พิธีถวายเครื่องบูชาและนมัสการที่พระวิหาร เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมากที่คนที่คิดเรื่องนี้เป็นครั้งแรก คือ เจอโรม (Jerome) คนจะชอบเรียกว่าเป็น "นักบุญ" แต่ผมก็จะเรียกอย่างอื่น! เจอโรม บอกว่า
{เจอโรม (ค.ศ. 347-420) – นักแปล ผู้อธิบายพระคัมภีร์ และนักศาสนศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของคริสตจักรยุคแรก ในแปลการแปลพระคัมภีร์ภาษาละตินที่เรียกว่าภูมิฐาน (vulgate)}
การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์เป็นสิ่งที่จบความเป็นไปได้ที่จะถูกชำระให้ชอบธรรม (ถูกเรียกว่าชอบธรรม) โดยการรักษากฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ แต่ปัญหาก็คือว่า เขาเปิดความเป็นไปได้ว่า อาจจะสามารถชอบธรรมโดยการรักษากฎธรรมบัญญัติคุณธรรมได้ด้วยตัวเองปราศจากความช่วยเหลือจากพระเจ้า
คำตอบของผมก็คือว่า ถ้าเปาโลหมายความว่า กฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ เท่านั้น สิ่งที่เปาโลได้พูดในที่นี่ไม่มีความหมายเลย เปาโลกำลังยืนยันว่า ไม่มีใครเป็นคนชอบธรรม และทุกคนต้องได้รับพระคุณพิเศษจากพระเจ้า คือความรัก สติปัญญา ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าซึ่งเป็นหนทางที่พระเจ้าได้ช่วยให้พวกเรารอด
ผลกระทบของแนวคิดของเจอโรม ก็คือว่า พระคุณของพระเจ้าจำเป็นเพื่อช่วยให้เรารอดจากกฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ แต่ไม่ใช่ กฎธรรมบัญญัติแห่งคุณธรรม แต่พวกเราไม่มีความสามารถในการรักษากฎธรรมบัญญัติแห่งคุณธรรม นอกจากพระคุณของพระเจ้า จริงๆแล้วสามารถทำให้คนกลัวจนถึงบังคับให้เขารักษากฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ แต่ไม่มีพลังที่มาจากมนุษย์บนโลกใบนี้ ที่สามารถทำให้คนรักษากฎธรรมบัญญัติแห่งคุณธรรมได้ สิ่งที่เปาโลกำลังพูดในที่นี่คือว่า พวกเราไม่สามารถถูกชำระให้ชอบธรรมในสายพระเนตรพระเจ้า โดยการพยายามรักษากฎธรรมบัญญัติแห่งคุณธรรมหรือ กฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ คือการกินและดื่มและอะไรเช่นนั้น ไม่ได้ชำระให้เราชอบธรรมหรือกล่าวโทษว่าไม่ชอบธรรม
ผมจะอธิบายต่อและบอกว่า เปาโลหมายความว่ากฎธรรมบัญญัติทั้งหมด เปาโลไม่ได้พูดว่าส่วนไหนส่วนนึง ยังจำเป็นต้องปฏิบัติตามเพื่อได้รับความรอด ถ้ากฎธรรมบัญญัติไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเพื่อได้รับความรอด เพราะพระคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่บาป สิ่งเดียวที่เปาโลจำเป็นต้องทำคือจะบอกและไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น ในกาลาเทีย 3:10, เปาโลเขียนไว้ว่า, “เพราะว่าคนทั้งหลายซึ่งพึ่งการประพฤติตามธรรมบัญญัติ ก็ถูกสาปแช่ง เพราะพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า“ทุกคนที่ไม่ได้ประพฤติตามข้อความทุกข้อที่เขียนไว้ในหนังสือธรรมบัญญัติก็ถูกสาปแช่ง” ในที่นี่โมเสส บอกว่ามนุษย์ทุกคนต้องทำตามกฎธรรมบัญญัติ และใครที่ไม่เชื่อฟังกฎธรรมบัญญัติ ก็จะอยู่ใต้พระพิโรธของพระเจ้า
ไม่ว่าคนที่พยายามรักษากฎธรรมบัญญัติ หรือคนที่ไม่ได้พยายามที่จะรักษากฎธรรมบัญญัติ ก็จะถูกชำระให้ชอบธรรมต่อหน้าพระพักต์พระเจ้า เพราะมนุษย์ทุกคนได้ตายในความบาป คำสอนของเปาโลในที่นี่ก็คือว่า มีมนุษย์ 2 ประเภท คือ คนที่ใช้ชีวิตด้วยพระวิญญาณและคนที่ไม่ได้ใช้ชีวิตด้วยพระวิญญาณ (ดูที่ โรม 3:21 และ 28) คำสอนนี้ตรงกับคำสอนของพระเยซูคริสต์ ในยอห์น 3:6 “ที่เกิดจากเนื้อหนังก็เป็นเนื้อหนัง และที่เกิดจากพระวิญญาณก็เป็นวิญญาณ” สำหรับคนที่ไม่มีวิญญาณบริสุทธิ์ กฎธรรมบัญญัติไม่มีประโยชน์อะไรเลย ไม่ว่าเขาจะพยายามมากแค่ไหน พวกเขาจะไม่ถูกชำระให้ชอบธรรมนอกจากผ่านทางความเชื่อที่มาจากพระวิญญาณ
สุดท้ายแล้ว ถ้ามี "เจตจำนงเสรี" มันจะจำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในมนุษย์ เพราะว่าถ้าไม่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์ "เจตจำนงเสรี" ต้องช่วยให้มนุษย์รักษากฎธรรมบัญญัติทุกประการ! แต่เปาโลบอกว่า คนที่เป็นของ "การกระทำของกฎธรรมบัญญัติ" ก็ไม่ได้ถูกชำระให้ชอบธรรม
หมายความว่า "เจตจำนงเสรี" ที่ดีที่สุด ยังไม่สามารถทำให้มนุษย์คืนดีกับพระเจ้าได้ ในโรม 3:20 เปาโลบอกว่า กฎธรรมบัญญัติจำเป็นเพื่อจะให้เราเห็นว่าอะไรคือความบาป "เพราะว่าธรรมบัญญัตินั้นทำให้เรารู้จักบาป" พูดอีกแบบนึงก็คือ เราได้ทราบถึงความเป็นคนบาป คนจำพวกที่เป็นของ "การกระทำของกฎธรรมบัญญัติ" ไม่สามารถสังเกตว่าอะไรคือความบาปจริงๆ กฎธรรมบัญญัติไม่ได้ประทานให้มนุษย์เพื่อให้มนุษย์เห็นว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่เพื่อจะแก้ไขความคิดเห็นของมนุษย์ ว่าอะไรคือสิ่งดีและอะไรคือความบาปในสายพระเนตรพระเจ้า "เจตจำนงเสรี" ตาบอด เพราะว่าต้องสอนมันให้เข้าใจกฎธรรมบัญญัติ และมันไม่มีความสามารถอะไรเลย เพราะว่ามันไม่สามารถทำให้ใครชอบธรรมได้ในสายพระเนตรพระเจ้า
การโต้วาทีข้อที่ 4: พระเจ้าประทานกฎธรรมบัญญัติให้แก่เราเพื่อนำเรามาถึงพระคริสต์ด้วยการให้ความรู้สึกถึงของความบาป
การโต้วาทีเพื่อ "เจตจำนงเสรี" ก็คือพระเจ้าจะไม่ประทานกฎธรรมบัญญัติให้แก่เรา ถ้าเราไม่มีความสามารถที่จะเชื่อฟังได้ เอราสมัส!….
{นักมนุษยนิยมชาวดัตช์ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและนักศาสนศาสตร์โรมันคาธอลิก ได้รับการยกย่องว่าเป็น “เจ้าชายแห่งมนุษยนิยม” นักวิชาการด้านพระคัมภีร์ชั้นนำ และผู้สนับสนุนการปฏิรูปคริสตจักร โดยเชื่อว่าการศึกษาทั้งหมดต้องมีเป้าหมายในการฝึกอบรมผู้อ่านให้เข้าใจพระคัมภีร์ เขาจึงเตรียมพันธสัญญาใหม่ฉบับตีพิมพ์ของตนเองซึ่งจัดพิมพ์ในปี ค.ศ. 1516 ฉบับแปลมีพันธสัญญาใหม่เป็นภาษากรีก ฉบับแปลเป็นภาษาละติน และคำอธิบายประกอบ การแปลนี้ท้าทายความเข้าใจของโรมเกี่ยวกับพระวจนะและหลักคำสอนของโรม บางคนกล่าวในสมัยของเขาว่า “เอราสมัสวางไข่ที่ลูเธอร์ฟักออกมา” เนื่องจากการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปและพันธสัญญาใหม่ของเขาช่วยวางรากฐานของการปฏิรูปเข้าข้างโรมและยึดมั่นในหลักคำสอนเรื่องเจตจำนงเสรี เขาเขียนว่า "ด้วยเสรีภาพแห่งเจตจำนงต่อต้านลูเทอร์" ซึ่งตอบกลับด้วยคำว่า "การผูกมัดเจตจำนง" ความพยายามในภายหลังของเอราสมัสในการนำทาง "ถนนสายกลาง" ระหว่างโรมกับพวกผู้นำการปฏิรูปทำให้ผิดหวังและถึงกับทำให้พวกโปรเตสแตนต์หลายคนและคาทอลิกอนุรักษ์นิยมไม่พอใจเช่นเดียวกัน}
…ได้บอกซ้ำๆว่า "ถ้าพวกเราขาดความสามารถที่จะทำอะไร วัตถุประสงค์ของกฎธรรมบัญญัติ คำสอน คำเตือน และคำสัญญา คืออะไร? คำตอบก็คือกฎธรรมบัญญัติไม่ได้ประทานให้แก่เราเพื่อแสดงให้เราเห็นสิ่งที่เราทำได้ กฎธรรมบัญญัติไม่ได้ประทานให้แก่เราเพื่อช่วยให้เราทำสิ่งที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน เปาโลบอกในโรม 3:20 "เพราะว่าธรรมบัญญัตินั้นทำให้เรารู้จักบาป" วัตถุประสงค์ของกฎธรรมบัญญัติคือแสดงให้เราเห็นว่าอะไรคือความบาปและอะไรจะนำให้เราไปสู่ความตายนรกและพระพิโรธของพระเจ้า กฎธรรมบัญญัติสามารถชี้ให้เราเห็นได้ แต่ไม่สามารถไถ่เราจากความบาปเหล่านี้ การไถ่บาปมาจากพระเยซูคริสต์เท่านั้น ซึ่งปรากฏให้เราเห็นในพระคัมภีร์! ไม่ว่าการใช้ตรรกะหรือ "เจตจำนงเสรี" จะนำใครไปถึงพระคริสต์ได้ เพราะว่า การใช้ตรรกะ และ "เจตจำนงเสรี" โดยมันเองต้องพึ่งพาความสว่างของกฎธรรมบัญญัติเพื่อชี้ให้เห็นความป่วยของตัวเอง
Paul asks this question in กาลาเทีย 3:19, “ถ้าเช่นนั้น มีธรรมบัญญัติไว้ทำไม? ที่เพิ่มธรรมบัญญัติก็เพราะการละเมิด จนกว่าพงศ์พันธุ์ตามพระสัญญานั้นจะมาถึง พวกทูตสวรรค์ได้ตั้งธรรมบัญญัตินั้นไว้โดยมือของคนกลาง” But Paul’s answer to his own question is the opposite of yours and Jerome’s.
เปาโลถามคำถามนี้ใน กาลาเทีย 3:19, “ถ้าเช่นนั้น มีธรรมบัญญัติไว้ทำไม? ที่เพิ่มธรรมบัญญัติก็เพราะการละเมิด จนกว่าพงศ์พันธุ์ตามพระสัญญานั้นจะมาถึง พวกทูตสวรรค์ได้ตั้งธรรมบัญญัตินั้นไว้โดยมือของคนกลาง” แต่คำตอบของเปาโลถึงคำถามของเขาเป็นคำตอบที่ตรงกันข้ามกับของคุณและของเจอโรม
คุณบอกว่ากฎธรรมบัญญัติประทานให้แก่เราเพื่อพิสูจน์ว่าพวกเรามี "เจตจำนงเสรี" จริง เจอโรมบอกว่ากฎธรรมบัญญัติอยู่เพื่อจำกัดความบาป แต่เปาโลไม่ได้พูดสิ่งเหล่านี้ การโต้วาทีของเปาโลคือว่า มนุษย์ต้องได้รับพระคุณเป็นพิเศษเพื่อจะสู้กับความชั่วที่กฎธรรมบัญญัติได้ชี้ให้เราเห็น ไม่มีวิธีรักษาจนกว่าจะวินิจฉัยโรคได้
กฎธรรมบัญญัติจำเป็นเพื่อจะทำให้มนุษย์ได้เห็นสภาพที่แย่ของเรา เผื่อว่าจะได้ต้องการการรักษาที่ได้มาจากพระคริสต์เท่านั้น ดังนั้นคำของเปาโลใน โรม 3:20 อาจจะรู้สึกเหมือนง่ายเกินไป แต่คำเหล่านี้มีฤทธิ์อำนาจมากถึงขั้นที่จะทำให้ "เจตจำนงเสรี" หายไปเลย เปาโลบอกใน โรม 7:7, “เพราะว่าถ้าธรรมบัญญัติไม่ได้ห้ามว่า “ห้ามโลภ” ข้าพเจ้าก็คงไม่รู้ว่าอะไรคือความโลภ” อันนี้หมายความว่า "เจตจำนงเสรี" ไม่รู้ว่าความบาปคืออะไร! ถ้าอย่างนั้น "เจตจำนงเสรี" จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือทางที่ถูก และถ้าไม่รู้ว่าทางไหนคือทางที่ถูก จะพยายามทำอะไรที่ถูกต้องได้อย่างไร?
การโต้วาทีข้อที่ 5: หลักคำสอนความรอดด้วยความเชื่อในพระคริสต์เท่านั้น ได้พิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนที่ผิดพลาด
ในโรม 3:21-25, เปาโลสอนด้วยความมั่นใจว่า, “แต่เดี๋ยวนี้ความชอบธรรมของพระเจ้านั้นปรากฏนอกเหนือธรรมบัญญัติ ความชอบธรรมดังกล่าวก็ได้รับการยืนยันจากหมวดธรรมบัญญัติและพวกผู้เผยพระวจนะ คือความชอบธรรมของพระเจ้า ซึ่งปรากฏโดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์แก่ทุกคนที่เชื่อ โดยไม่ทรงถือว่าเขาแตกต่างกัน เพราะว่าทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า แต่พระเจ้าทรงมีพระคุณให้เขาเป็นผู้ชอบธรรมโดยไม่คิดมูลค่า โดยที่พระเยซูคริสต์ทรงไถ่เขาให้พ้นบาปแล้ว พระเจ้าได้ทรงตั้งพระเยซูไว้ให้เป็นเครื่องบูชาไถ่บาปโดยพระโลหิตของพระองค์ ความเชื่อจึงได้ผล ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นความชอบธรรมของพระเจ้า ในการที่พระองค์ได้ทรงอดกลั้นพระทัย และทรงยกบาปที่เราได้ทำไปแล้วนั้น”
คำเหล่านี้เปรียบเสมือนสายฟ้าที่ต่อต้าน "เจตจำนงเสรี" เปาโลแยกแยะความชอบธรรมที่พระเจ้าประธานให้จากความชอบธรรมที่มาจากการปฏิบัติตามกฎธรรมบัญญัติ "เจตจำนงเสรี" จะประสบความสำเร็จถ้ามนุษย์สามารถได้รับความรอดด้วยการรักษากฎธรรมบัญญัติ
แต่เปาโลอธิบายอย่างชัดเจนว่า พวกเราไม่ได้รอดด้วยการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ ไม่ว่าเราจะจินตนาการมากแค่ไหนว่า "เจตจำนงเสรี" นี้จะทำให้เราสามารถกระทำการที่ดีได้หรือเป็นพลเมืองที่ดีได้ เปาโลยังบอกว่า ความชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้เป็นคนละอย่างโดยสิ้นเชิง มันเป็นไปไม่ได้ที่ "เจตจำนงเสรี" จะอยู่รอดหลังจากโดนโจมตีจากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้
ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้มีสายฟ้าอีกอันนึงที่ต่อต้าน "เจตจำนงเสรี" ในข้อเหล่านี้เปาโลลากเส้นแยกผู้เชื่อจากผู้ที่ไม่เชื่อ (โรม 3:22) ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า "พลังเจตจำนงเสรี" นี้ ต่างกันมากกับความเชื่อในพระเยซูคริสต์ แต่ปราศจากความเชื่อในพระคริสต์ เปาโลบอกว่า ไม่มีอะไรเป็นที่ยอมรับสำหรับพระเจ้า และถ้าสิ่งไหนสิ่งใดไม่ได้เป็นที่ยอมรับสำหรับพระเจ้า มันต้องเป็นความบาป ไม่มีอะไรเป็นกลาง เพราะฉะนั้น "เจตจำนงเสรี" ถ้ามีจริง ก็เป็นความบาป เพราะขัดแย้งกับความเชื่อ และไม่ได้ถวายเกียรติแต่พระเจ้า
โรม 3:23 ก็เป็นสายฟ้าอีกอันนึง: “เพราะว่าทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า” เปาโลไม่ได้พูดว่า, “ทุกคนทำบาป ยกเว้นคนที่กระทำการดีด้วยเจตจำนงเสรี"
คือว่าไม่มีข้อยกเว้น ถ้าเป็นไปได้ที่จะทำให้พวกเราเป็นที่ยอมรับสำหรับพระเจ้าด้วย "เจตจํานงเสรี" นี้ เปาโลคงเป็นคนโกหก คือว่าเปาโลควรจะให้พื้นที่สำหรับข้อยกเว้น แต่เปาโลพูดอย่างชัดเจนว่า เพราะความบาปไม่มีใครสามารถถวายเกียรติแด่พระเจ้าหรือนมัสการอย่างจริงใจได้
ใครที่ทำให้พระเจ้าพอพระทัยต้องรู้ว่าพระเจ้าพอพระทัยพวกเขา แต่ประสบการณ์ของพวกเราสอนเราว่า ไม่มีอะไรในเราที่ทำให้พระเจ้าพอพระทัย ถามพวกที่อ้างถึง "เจตจำนงเสรี" ว่ามีอะไรในพวกเขาที่ทำให้พระเจ้าพอพระทัยหรือเปล่า เขาก็ต้องยอมรับว่าไม่มีอะไร เปาโลบอกอย่างชัดเจนว่าไม่มี
แม้แต่คนที่เชื่อใน "เจตจำนงเสรี" ก็ต้องเห็นด้วยกับผมว่า พวกเขาไม่สามารถถวายเกียติ์แด่พระเจ้าด้วยกำลังของเขาเอง แม้ว่าจะนับ "เจตจำนงเสรี" ของพวกเขา เขาก็ยังสงสัยว่า พวกเขาได้ทำให้พระเจ้าพอพระทัยแล้วหรือยัง ดังนั้นผมพิสูจน์แล้วจากพยานของมโนธรรมของพวกเขาเองว่า "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้ทำให้พระเจ้าพอพระทัย แม้แต่เราจะรวมพลังและความพยายามต่างๆทั้งหมด "เจตจำนงนองเสรีภาพ" มีความผิดบาปคือการที่ไม่เชื่อ ดังนั้นเราเห็นแล้วว่า หลักคำสอนของความรอดด้วยความเชื่อเท่านั้น ตรงกันข้ามกับแนวคิด "เจตจำนงนองเสรี"
การโต้วาทีข้อที่ 6: ไม่มีพื้นที่สำหรับแนวคิดของการทำบุญหรือการหาผลตอบแทน
พวกที่สอน "เจตจำนงเสรี" บอกว่าถ้าไม่มี "เจตจำนงเสรี" ก็ไม่มีพื้นที่สำหรับการรับบุญหรือรางวัล
แล้วพวกที่อ้างถึง "เจตจำนงเสรี" จะว่าอย่างไรเกี่ยวกับคำว่า ไม่คิดมูลค่า ในโรม 3:24? เปาโลบอกว่า "พระเจ้าทรงมีพระคุณให้เขาเป็นผู้ชอบธรรมโดยไม่คิดมูลค่า" แล้วพวกเขาคิดอย่างไรเกี่ยวกับ "พระเจ้าทรงมีพระคุณให้เขา" ถ้าความรอดเป็นสิ่งที่ได้รับแบบไม่คิดมูลค่า ก็ไม่มีทางที่จะได้รับความรอดเป็นรางวัลหรือสิ่งที่สมควรได้รับ
อย่างไรก็ตาม เอราสมัส ยังยืนยันว่ามนุษย์จำเป็นต้องมีความสามารถที่จะทำอะไรเพื่อได้รับความรอดของเขา ไม่อย่างนั้นก็จะไม่สมควรรอด เขาคิดว่าเหตุผลที่พระเจ้าชำระให้คนหนึ่งชอบทำและไม่ในอีกคนหนึ่ง ก็คือว่าคนหนึ่งได้ใช้ "เจตจำนงเสรี" และพยายามที่จะเป็นคนชอบธรรม และอีกคนหนึ่งไม่ได้ใช้ แต่สิ่งที่ทำให้พระเจ้าเป็นผู้ให้เกียรติบุคคล แต่พระคัมภีร์บอกอย่างชัดเจนว่าพระองค์ไม่ได้เป็น (กิจการ 10:34)
เอราสมัสและบางคนที่คิดเหมือนกันจะบอกว่ามนุษย์มีความสามารถที่จะทำเพียงเล็กน้อยโดยใช้ "เจตจำนงเสรี" เพื่อได้รับความรอดของเขา พวกเขาอาจจะบอกว่า "เจตจำนงเสรี" มีคุณค่าเล็กน้อยและไม่สมควรได้รับมาก แต่ในเวลาเดียวกันเขายังยืนยันว่า "เจตจำนงเสรี" นี้ ได้ทำให้มนุษย์มีความสามารถที่จะพยายามเข้าหาหาพระเจ้า เขายังยืนยันว่าถ้าใครคนใดไม่ได้พยายามหาพระเจ้า มันก็เป็นความผิดของเขา ที่เขาไม่ได้รับพระคุณของพระเจ้า
ดังนั้น ไม่ว่า "เจตจำนงเสรี" นี้ มีคุณค่ามากหรือน้อย ผลกระทบคือเหมือนเดิม: พระคุณของพระเจ้าได้รับโดยการใช้มัน แต่เปาโลได้ปฏิเสธว่าเจตว่าจํานงเสรีนี้มีคุณค่า ด้วยการใช้คำว่า "ไม่คิดมูลค่า" คือพวกที่บอกว่า "เจตจำนงเสรี" มีคุณค่าเล็กน้อย ก็แย่เท่ากับคนที่บอกว่ามีคุณค่ามาก ทั้งสองสอนว่า "เจตจํานงเสรี" มีคุณค่ามากเพียงพอที่จะทำให้เราคืนดีกับพระเจ้า เพราะฉะนั้นในความเป็นจริงก็ไม่ได้ต่างกันเลย
จริงๆแล้ว คนที่สนับสนุน "เจตจำนงเสรี" ได้ให้ตัวอย่างที่ดีของการ "กระโดดออกจากกระทะเข้าไปในไฟ" โดยการพูดถึง "เจตจำนงเสรี" เหมือนกับว่ามันมีคุณค่าเล็กน้อย เขาทำให้เรื่องนี้ซับซ้อนขึ้นแทนที่จะง่ายขึ้น อย่างน้อยก็พวกคนที่พูดถึงเจตจำนงเสรีว่ามีคุณค่ามาก (พวกเขาเรียกว่า "พวกเปลจิอัน")…
{พวกเปลจิอัน – ลัทธิหนึ่งในศตวรรษที่ 4 และ 5 ที่ปฏิบัติตามคำสอนของคนสอนเทียมเท็จ เปลจิอัส (ค. 354-c. 420) นักบวชชาวอังกฤษผู้ยืนยันว่าผู้คนสามารถปฏิรูปตนเองได้ด้วยเจตจำนงเสรีและพวกเขาสามารถก้าวออกไปสู่ความรอดโดยปราศจากความช่วยเหลือจากพระคุณของพระเจ้า ความคิดเห็นของเขาถูกประณามว่าเป็นคำสอนผิดพลาดโดยสภาเมืองเอเฟซัส (431).}
ตั้งราคาสูงสำหรับพระคุณของพระเจ้า เพราะว่าต้องมีบุญเยอะถึงจะได้รับความรอด แต่เอราสมัสทำให้พระคุณมีคุณค่าในราคาถูกมาก สามารถได้รับด้วยความพยายามเพียงเล็กน้อย แต่เปาโลเอาทั้ง 2 แนวคิดลดให้จนถึงไม่มีอะไรเลยด้วยคำว่า "ไม่คิดมูลค่า" ในโรม 3:24
ต่อไปในโรม 11:6 เปาโลบอกว่าการที่พระเจ้ายอมรับเราคือด้วยพระคุณเท่านั้น: “แต่ถ้าเป็นทางพระคุณ ก็ไม่ได้เป็นทางการประพฤติ ถ้าเป็นทางการประพฤติ พระคุณก็จะไม่เป็นพระคุณอีกต่อไป” คำสอนของเปาโลในที่นี่ก็ชัดเจน คือไม่มี "การทำบุญ" ในสายพระเนตรพระเจ้า ไม่ว่าบุญจะเล็กหรือใหญ่แค่ไหน ไม่มีใครสมควรได้รับความรอด เปาโลไล่การกระทำของ "เจตจำนงเสรี" ออกไป และตั้งพระคุณเพียงเท่านั้น เราไม่สามารถให้ความรอดขึ้นอยู่กับเราเองแม้แต่สักนิดเดียว ความรอดของเราต้องขึ้นอยู่กับพระเจ้าโดยสิ้นเชิง
การโต้วาทีข้อที่ 7: "เจตจำนงเสรี" ไม่มีคุณค่าเพราะว่า การกระทำของมนุษย์ไม่ได้เกี่ยวกับความชอบธรรมของมนุษย์ต่อหน้าพระเจ้า
ถ้าอับราฮัมถูกชำระให้ชอบธรรมโดยการประพฤติ ท่านก็มีทางที่จะอวดได้ แต่ไม่ใช่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า พระคัมภีร์ว่าอย่างไร? ก็ว่า“อับราฮัมเชื่อพระเจ้า และพระองค์ทรงถือว่าท่านเป็นคนชอบธรรม” ส่วนคนที่ทำงานก็ไม่ถือว่าค่าจ้างที่ได้นั้นเป็นบำเหน็จ แต่ถือว่าเป็นค่าแรงของงานที่ได้ทำ ส่วนคนที่ไม่ได้อาศัยการประพฤติ แต่ได้เชื่อในพระองค์ผู้ทรงให้คนอธรรมเป็นคนชอบธรรมได้ เพราะความเชื่อของคนนั้นพระเจ้าทรงถือว่าเป็นความชอบธรรม -โรม 4:2-5
ตอนนี้ผมก็จะดูคำอธิบายของเปาโลใน โรม 4:2-3: “ถ้าอับราฮัมถูกชำระให้ชอบธรรมโดยการประพฤติ ท่านก็มีทางที่จะอวดได้ แต่ไม่ใช่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า พระคัมภีร์ว่าอย่างไร? ก็ว่า“อับราฮัมเชื่อพระเจ้า และพระองค์ทรงถือว่าท่านเป็นคนชอบธรรม” เปาโลไม่ได้ปฏิเสธว่าอับราฮัมเป็นผู้ชอบธรรม จุดประสงค์คือว่าความชอบธรรมของเขาไม่ได้ช่วยให้เขาได้รับความรอด
ไม่มีใครปฏิเสธว่าการกระทำที่ชั่วจะไม่ถูกยอมรับจากพระเจ้า อันนี้ก็ชัดเจนอยู่แล้ว คือผมจะบอกว่าแม้แต่การกระทำที่ดีของเราจะไม่สามารถทำให้พระเจ้ายอมรับเราได้ คือการกระทำของมนุษย์สมควรได้รับพระพิโรธของพระเจ้าไม่ใช่ความพอพระทัย ในโรม 4:4-5 เปาโลตั้ง "คนที่ทำงาน" ต่อ "คนที่ไม่ได้อาศัยการประพฤติ" และไม่เลือกที่จะไว้ใจพระเจ้าแทน ไม่มีตำแหน่งครึ่งทาง!
การโต้วาทีข้อที่ 8: กำปั้นเต็มไปด้วยการโต้วาทีต่างๆ
ผมจำเป็นต้องพูดผ่านๆถึงการโต้วาทีที่ต่อว่า "เจตจำนงเสรีภาพ" ผมจะอ้างถึงทีละอย่างสั้นๆ แต่ๆละอย่างสามารถทำลายแนวคิด "เจตจำนงเสรี" โดยสิ้นเชิงด้วยมันเอง
เช่น ต้นกำเนิดของพระคุณซึ่งช่วยให้เรารอดเป็นพระคุณของพระเจ้าที่เป็นพระประสงค์นิรันดร์ของพระองค์ (โรม 8:28) คำนี้จำเป็นต้องกำจัดคำแนะนำว่าพระเจ้าทรงมีพระคุณต่อเราเพราะสิ่งต่างๆที่เราได้ทำ
การโต้วาทีอีกอย่างหนึ่งมีพื้นฐานในข้อเท็จจริงว่า พระเจ้าสัญญาความรอดโดยพระคุณ (ให้กับอับราฮัม) ก่อนที่พระองค์จะประทานธรรมบัญญัติ เปาโลโต้แย้งบอกว่า ถ้าเรารอดจากการรักษาธรรมบัญญัติโดย "เจตจำนงเสรี" เช่นนั้นก็หมายความว่า พระสัญญาถึงความรอดโดยพระคุณถูกยกเลิก (โรม 4:13-15; กาลาเทีย 3:15-21) ในขณะเดียวกันความเชื่อก็จะไม่มีคุณค่า
เปาโลบอกเราด้วยว่าธรรมบัญญัติ สามารถชี้ให้เห็นความบาปแต่ไม่สามารถลบความบาป
(โรม 3:20; กาลาเทีย 3:2) เพราะว่า "เจตจำนงเสรี" มีความสามารถที่จะทำในกรณีที่เราได้รักษาธรรมบัญญัติ, ไม่สามารถมีความชอบธรรมที่พอพระทัยพระเจ้าที่ได้มาจากการรักษาธรรมบัญญัติ
สุดท้ายแล้ว เราทั้งหลายอยู่ใต้พระพิโรธของพระเจ้าเพราะความบาปของอดัมคือการไม่เชื่อฟัง (โรม 5:12; 1 โครินธ์ 15:22) พวกเราตกอยู่ภายใต้พระพิโรธของพระเจ้าตั้งแต่เกิด รวมถึงพวกคนที่มี "เจตจำนงเสรี" — ถ้าพวกนี้มีจริง! ถ้าอย่างนั้น "เจตจำนงเสรี" จะช่วยเราได้อย่างไร — นอกจากช่วยให้เราทำความบาปและได้รับพระพิโรธ
ผมอาจจะไม่พูดถึงการโต้วาทีเหล่านี้ก็ได้ และเลือกที่จะอธิบายจดหมายของเปาโลตรงๆ แต่ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า ฝ่ายตรงกันข้ามของผมนั้นโง่แค่ไหน ซึ่งพลาดที่ได้เห็นสิ่งง่ายๆชัดเจน เพราะฉะนั้นผมปล่อยให้เขาพิจารณาคำโต้วาทีเหล่านี้ให้เขาเอง
การโต้วาทีข้อที่ 9: เปาโลชัดเจนที่สุดในการต่อต้าน "เจตจำนงเสรี"
การโต้วาทีของเปาโลในที่นี่ชัดเจนถึงขนาดที่เป็นเรื่องอัศจรรย์ที่ใครก็สามารถเข้าใจเขาผิดได้ เปาโลบอกว่า “พวกที่ไม่มีธรรมบัญญัติและทำบาป จะต้องพินาศโดยไม่อ้างธรรมบัญญัติ และพวกที่มีธรรมบัญญัติและทำบาป ก็จะต้องถูกพิพากษาตามธรรมบัญญัติ” (โรม 2:12) ผมเองก็ประหลาดใจที่บางคนบอกว่า "บางคนไม่ได้หลงทาง ไม่ได้เป็นคนไม่ชอบธรรม ไม่ได้เป็นคนชั่ว ไม่ได้เป็นคนบาป และมีอะไรสักอย่างในมนุษย์ที่ตั้งใจพยายามทำความดี"!
และเปาโลไม่ได้กล่าวถ้อยคำเหล่านี้เพียงแค่บางครั้งหรือนานๆที เขากล่าวพูดแบบนี้จากมุมแง่บวกบ้างและแง่ลบบ้างด้วยประโยคง่ายๆและโดยการเปรียบเทียบต่างๆ ความหมายชัดเจนของเขาและบริบททั้งหมด และการโต้วาทีทั้งหมดของเขารวมกันในนี้ — คือนอกจากผ่านทางความเชื่อในพระคริสต์ไม่มีอะไรนอกจากความบาปและการกล่าวโทษ ฝ่ายค้านของผมพ่ายแพ้แล้วแม้แต่เขายังไม่ยอมแพ้! แต่นั่นก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจของผมที่จะทำให้เกิดขึ้น ผมต้องปล่อยให้พระวิญญาณบริสุทธิ์จัดการเรื่องนั้น
การโต้วาทีข้อที่ 10: สภาพของมนุษย์ปราศจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ทำให้เราเห็นว่า "เจตจำนงเสรี" ไม่สามารถทำอะไรพิเศษได้เลย
เพราะว่าคนทั้งหลายที่อยู่ฝ่ายเนื้อหนัง ก็สนใจในสิ่งซึ่งเป็นของเนื้อหนัง แต่คนทั้งหลายที่อยู่ฝ่ายพระวิญญาณ ก็สนใจในสิ่งซึ่งเป็นของพระวิญญาณ การเอาใจใส่เนื้อหนังก็คือความตาย และการเอาใจใส่พระวิญญาณ ก็คือชีวิตและสันติสุข เพราะว่าการเอาใจใส่เนื้อหนังนั้นคือการเป็นศัตรูต่อพระเจ้า ไม่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของพระเจ้า และที่จริงไม่สามารถปฏิบัติตามได้ และคนที่อยู่ในเนื้อหนัง จะเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้าก็ไม่ได้ ถ้าพระวิญญาณของพระเจ้าสถิตอยู่ในพวกท่านแล้ว ท่านก็ไม่อยู่ในเนื้อหนัง แต่อยู่ในพระวิญญาณ ใครไม่มีพระวิญญาณของพระคริสต์ คนนั้นก็ไม่เป็นของพระองค์ -โรม 8:5-9
ในโรม 8:5 เปาโลแบ่งแยกมนุษย์เป็น 2 กลุ่ม — คนทั้งหลายที่อยู่ "ฝ่ายเนื้อหนัง" (คือธรรมชาติความบาป) และคนทั้งหลายที่อยู่ "ฝ่ายพระวิญญาณ" (ดูที่ยอห์น 3:6) อันนี้หมายความว่าคนที่ไม่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็ต้องอาศัยอยู่ในเนื้อหนัง คือยังมีธรรมชาติเป็นคนบาป เปาโลบอกว่า “ใครไม่มีพระวิญญาณของพระคริสต์ คนนั้นก็ไม่เป็นของพระองค์ (โรม 8:9).
ชัดเจนแล้วว่านี่หมายความว่าคนที่ไม่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นของมารซาตาน "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้ช่วยพวกเขาสักเท่าไหร่! เปาโลบอกว่าคนที่ถูกบีบบังคับด้วยธรรมชาติความบาป “จะเป็นคนที่ชอบพระทัยพระเจ้าก็ไม่ได้" (โรม 8:8) เปาโลบอกว่า “การเอาใจใส่เนื้อหนังนั้นคือการเป็นศัตรูต่อพระเจ้า ไม่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของพระเจ้า และที่จริงไม่สามารถปฏิบัติตามได้ (โรม 8:7). มันเป็นไปไม่ได้ที่คนเหล่านี้จะสามารถพยายามทำอะไรแม้เพียงเล็กน้อยด้วยตัวเองเพื่อที่จะทำให้พระเจ้าพอพระทัย
ผู้ชายคนหนึ่งชื่อโอริเจน…
{โอริเจน (c.185-c.254) – นักปรัชญาชาวกรีก นักศาสนศาสตร์ และนักวิชาการพระคัมภีร์ ในเมืองอเล็กซานเดรีย อียิปต์; ความคิดเห็นของเขาถูกประณามในเวลาต่อมาว่าผิดพลาด}
เขาเสนอว่าผู้ชายทุกคนมี "จิตใจ" พี่สามารถหันไปทาง "เนื้อหนัง" หรือ "พระวิญญาณ" อันนี้เป็นแค่จินตนาการของเขาเอง เขาฝันขึ้นมา! เขาไม่มีหลักฐานจากพระคัมภีร์แม้แต่สักนิดเดียว ในความเป็นจริงไม่มีตำแหน่งตรงกลาง ทุกอย่างที่ปราศจากพระวิญญาณก็เป็นเนื้อหนัง และกิจกรรมที่ดีที่สุดของเนื้อหนังก็เป็นศัตรูกับพระเจ้า อันนี้เป็นคำสอนเหมือนกับที่พระเยซูสอนใน มัทธิว 7:18 —ต้นไม้ดีจะเกิดผลเลวไม่ได้ หรือต้นไม้เลวจะเกิดผลดีก็ไม่ได้
มันสอดคล้องกับประโยคคู่นี้ของเปาโลเช่นเดียวกัน:
“เพราะว่าในข่าวประเสริฐนั้น ความชอบธรรมซึ่งเกิดมาจากพระเจ้าก็ได้สำแดงออกโดยความเชื่อ และเพื่อความเชื่อ ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า “คนชอบธรรมจะมีชีวิตดำรงอยู่โดยความเชื่อ” (โรม 1:17)
และ
“แต่คนที่มีความสงสัยอยู่นั้น ถ้าเขากินก็มีความผิด เพราะเขาไม่ได้กินตามที่ตนเชื่อ ทั้งนี้เพราะการกระทำใดๆ ที่ไม่ได้เกิดจากความเชื่อก็เป็นบาปทั้งสิ้น” (โรม 14:23).
พวกเขาที่ปราศจากความเชื่อก็ไม่ได้ถูกชำระให้ชอบธรรม และคนที่ไม่ได้ถูกชำระให้ชอบธรรมเป็นคนบาปซึ่ง "เจตจำนงเสรี" ใดๆก็ตามสามารถสร้างก็แต่ความชั่ว ดังนั้น "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้เป็นอะไรนอกจากทาสถึงความบาป ความตาย และมารซาตาน "เสรีภาพ" อย่างนี้ก็ไม่ได้เป็นเสรีภาพที่แท้จริง
การโต้วาทีข้อที่ 11: คนที่มารู้จักพระเยซูคริสต์ ก่อนหน้านั้นก็ไม่ได้นึกถึงพระองค์ และไม่ได้แสวงหาพระองค์หรือเตรียมตัวเองสำหรับพระองค์
ในโรม 10:20 เปาโลอ้างถึง อิสยาห์ 65:1: “เราพร้อมให้ผู้ไม่ได้ขอนั้นแสวงหาได้ และให้ผู้ไม่ได้เสาะหานั้นพบได้ เราพูดว่า “เราอยู่นี่ เราอยู่นี่” กับชนชาติที่ไม่ได้ถูกขนานนามตามชื่อของเรา"
เปาโลรู้จากประสบการณ์ของเขาเองว่า เขาไม่ได้แสวงหาพระคุณของพระเจ้า แต่ได้รับทั้งๆที่มีความโกรธต่อต้านพระคุณของพระเจ้า เปาโลบอกว่าในโรม 9:30-31 ว่า ชาวยิวที่ตั้งใจที่จะรักษาธรรมบัญญัติ ก็จะไม่รอดด้วยความพยายามเหล่านั้น แต่ชาวต่างชาติซึ่งเป็นคนไม่ชอบธรรมเลยได้รับพระคุณของพระเจ้า
อันนี้แสดงให้เห็นชัดว่าความพยายามทั้งหมดของ "เจตจำนงเสรี" ไร้ประโยชน์ที่จะช่วยให้เขารอด ความกระตือรือร้นของยิวไม่ได้ช่วยเขาเลย และในเวลาเดียวกันชาวต่างชาติที่ไม่ชอบธรรมได้รับความรอด! พระคุณของพระเจ้าประธานให้แบบโดยไม่คิดมูลค่าให้คนที่ไม่สมควรและไม่เหมาะสมที่จะได้รับ และไม่ได้รับเพราะความพยายามแม้แต่ความพยายามของมนุษย์ต่อให้พยายามที่สุดที่จะทำก็ตาม
การโต้วาทีข้อที่ 12: ความรอดสำหรับโลกที่เต็มไปด้วยความบาป คือด้วยพระคุณด้วยความเชื่อเท่านั้น
พระองค์ทรงอยู่ในโลกที่พระเจ้าทรงสร้างขึ้นมาทางพระองค์ แต่โลกไม่รู้จักพระองค์ พระองค์เสด็จมายังบ้านเมืองของพระองค์ แต่ชาวบ้านชาวเมืองของพระองค์ไม่ต้อนรับพระองค์ แต่ทุกคนที่ยอมรับพระองค์ คือคนที่เชื่อในพระนามของพระองค์นั้น พระองค์ก็จะประทานสิทธิให้เป็นลูกของพระเจ้า ซึ่งในฐานะนั้นพวกเขาไม่ได้เกิดจากเลือดเนื้อหรือกาม หรือความประสงค์ของมนุษย์ แต่เกิดจากพระเจ้า พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา เราเห็นพระสิริของพระองค์ คือ พระสิริที่สมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง ยอห์นเป็นพยานให้กับพระองค์ และร้องประกาศว่า “นี่แหละ คือพระองค์ผู้ที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงว่า พระองค์ผู้เสด็จมาภายหลังข้าพเจ้าทรงเป็นใหญ่กว่าข้าพเจ้า เพราะว่าพระองค์ทรงดำรงอยู่ก่อนข้าพเจ้า” เพราะเราได้รับพระคุณซ้อนพระคุณจากความบริบูรณ์ของพระองค์ -ยอห์น 1:10-16
ให้เราย้อนกลับไปดูยอห์นที่ยอห์นเขียนอย่างชัดเจนในการต่อต้าน "เจตจำนงเสรี" ใน
ยอห์น 1:5 เขาบอกว่า “ความสว่างส่องเข้ามาในความมืด และความมืดไม่อาจเอาชนะความสว่างได้"
และใน
ยอห์น 1:10-11 "พระองค์ทรงอยู่ในโลกที่พระเจ้าทรงสร้างขึ้นมาทางพระองค์ แต่โลกไม่รู้จักพระองค์ พระองค์เสด็จมายังบ้านเมืองของพระองค์ แต่ชาวบ้านชาวเมืองของพระองค์ไม่ต้อนรับพระองค์"
เวลายอห์นพูดถึง "โลก" เขาหมายความว่ามนุษยชาติทั้งหลาย ดังนั้น "เจตจำนงเสรี" จะเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมอย่างยิ่งในมนุษย์ คือต้องนึกถึงด้วยว่าเมื่อไหร่ที่ยอห์นพูดถึง "โลก" เพราะฉะนั้นตาม 2 บทพระคัมภีร์นี้ "เจตจำนงเสรี" ไม่รู้จักความสว่างแห่งความจริงและเกลียดพระคริสต์และชนชาติของพระองค์ มีอีกหลายบทเช่น ยอห์น 7:7; 8:23; 14:7; 15:19; 1 ยอห์น 2:16; 5:19 ที่ได้กล่าวว่า "โลก" (รวมถึง "เจตจำนงเสรี" อย่างยิ่ง) ก็อยู่ภายใต้อำนาจของมารซาตาน
คือ "โลก" รวมถึงทุกอย่างที่ไม่ได้แยกให้พระเจ้าโดยพระวิญญาณ เพราะฉะนั้นถ้ามีใครในโลกนี้ที่มีโดย "เจตจำนงเสรี" ได้รู้จักความจริง และด้วย "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้เกลียดพระคริสต์ ยอห์นก็จะเปลี่ยนสิ่งที่เขาได้เขียน แต่เขาไม่ได้เปลี่ยน เพราะฉะนั้นชัดเจนแล้วว่า "เจตจำนงเสรี" ผิดบาปเท่ากับ "โลก"
ในยอห์น 1:12-13, ยอห์นอธิบายต่อว่า “แต่ทุกคนที่ยอมรับพระองค์ คือคนที่เชื่อในพระนามของพระองค์นั้น พระองค์ก็จะประทานสิทธิให้เป็นลูกของพระเจ้า ซึ่งในฐานะนั้นพวกเขาไม่ได้เกิดจากเลือดเนื้อหรือกาม หรือความประสงค์ของมนุษย์ แต่เกิดจากพระเจ้า”
"เลือดเนื้อหรือกาม" หมายความว่าเป็นเรื่องไร้สาระที่จะขึ้นอยู่กับสถานที่เกิดหรือครอบครัว "หรือความประสงค์ของมนุษย์" หมายความว่าเป็นเรื่องโง่ที่จะขึ้นอยู่กับ "การกระทำธรรมบัญญัติ" คือหมายความว่าไม่มีความพยายามของมนุษย์ที่สามารถทำให้พระเจ้ายอมรับเขาได้
ถ้า "เจตจำนงเสรี" มีประโยชน์แม้เพียงสักเล็กน้อย ยอห์นไม่ควรจะปฏิเสธ "ความประสงค์ของมนุษย์" หรือไม่อย่างนั้นเขาก็จะตกอยู่ในอันตราย
อิสยาห์ 5:20: “วิบัติแก่พวกที่เรียกความชั่วว่าความดี และเรียกความดีว่าความชั่ว"
คือไม่มีความสงสัยเลยว่าการเกิดแบบธรรมชาติไม่มีประโยชน์ในการได้รับความรอดเพราะว่าใน
โรม 9:8 เปาโลเขียนไว้ว่า “หมายความว่าคนที่เป็นลูกของพระเจ้านั้นไม่ใช่ลูกของเนื้อหนัง แต่เป็นลูกของพระสัญญา จึงจะถือว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายได้”
หลังจากนั้นยอห์นบอกในยอห์น 1:16, “เพราะเราได้รับพระคุณซ้อนพระคุณจากความบริบูรณ์ของพระองค์” พูดอีกแบบหนึ่งก็คือ พระพรล้วนๆ ดังนั้นเราได้รับพระพรฝ่ายวิญญาณด้วยพระคุณโดยทางอื่นเท่านั้นไม่ใช่ด้วยความพยายามของเราเอง 2 อย่างที่ตรงกันข้ามกันไม่สามารถเป็นความจริงทั้งสองอย่างได้ พระคุณนั้นถูกมาก ไม่ว่าใครก็ตาม จะอยู่ที่ไหนก็ตาม ก็สามารถได้รับและในเวลาเดียวกัน พระคุณเป็นสิ่งที่พิเศษถึงขั้นที่เราสามารถได้รับผ่านทางการกระทำของมนุษย์ผู้เดียว คือพระเยซูคริสต์
ผมต้องการให้ฝ่ายค้านสังเกตว่าเขาได้อ้างถึง "เจตจำนงเสรี" พวกเขากำลังปฏิเสธพระเยซูคริสต์ ถ้าเราได้รับพระคุณด้วย "เจตจำนงเสรี" พวกเราไม่ต้องพึ่งพาพระคริสต์ก็ได้ และถ้าเรามีพระคริสต์ เราไม่ต้องพึ่งพา "เจตจำนงเสรี" ผู้ที่สนับสนุน "เจตจำนงเสรี" พิสูจน์การปฏิเสธพระเยซูคริสต์ของเขาด้วยการกระทำ บางคนในพวกเขา อธิษฐานกับมารีย์ และ "นักบุญ" และไม่ได้พึ่งพาพระคริสต์ ซึ่งเป็นคนกลางผู้เดียวระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า คือเขาละทิ้งพระคริสต์และการทำงานของพระองค์เป็นคนกลางพระผู้ช่วยให้รอดที่ใจดีที่สุด — และได้นึกถึงการทำงานของพระคริสต์เหมือนมีคุณค่าน้อยกว่าความพยายามของเขาเอง
การโต้วาทีข้อที่ 13: นิโคเดมัส ต่อต้าน "เจตจำนงเสรี" ใน ยอห์น บทที่ 3
มีชายคนหนึ่งในพวกฟาริสีชื่อนิโคเดมัส เป็นขุนนางของพวกยิว คนนี้มาหาพระเยซูตอนกลางคืนทูลพระองค์ว่า “ท่านอาจารย์ เราทราบว่าท่านเป็นครูที่มาจากพระเจ้า เพราะไม่มีใครทำหมายสำคัญที่ท่านนั้นทำได้ นอกจากพระเจ้าสถิตกับเขา” พระเยซูตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงกับท่านว่า ถ้าคนใดไม่ได้เกิดใหม่ คนนั้นไม่สามารถเห็นแผ่นดินของพระเจ้า” นิโคเดมัสทูลพระองค์ว่า “คนชราจะเกิดใหม่ได้อย่างไร? จะเข้าไปในท้องของแม่ครั้งที่สองแล้วเกิดใหม่ได้หรือ?” พระเยซูตรัสว่า “เราบอกความจริงกับท่านว่า ถ้าใครไม่ได้เกิดจากน้ำและพระวิญญาณ คนนั้นจะเข้าในแผ่นดินของพระเจ้าไม่ได้ ที่เกิดจากเนื้อหนังก็เป็นเนื้อหนัง และที่เกิดจากพระวิญญาณก็เป็นวิญญาณ อย่าประหลาดใจที่เราบอกท่านว่าพวกท่านต้องเกิดใหม่ ลมจะพัดไปที่ไหนก็พัดไปที่นั่น และท่านได้ยินเสียงลมนั้นแต่ไม่รู้ว่าลมมาจากไหนและไปที่ไหน คนที่เกิดจากพระวิญญาณ ก็เป็นอย่างนั้นทุกคน” นิโคเดมัสทูลพระองค์ว่า “เหตุการณ์อย่างนี้จะเป็นไปได้อย่างไร?” -ยอห์น 3:1-9
ดูคุณธรรมของนิโคเดมัสใน ยอห์น 3:1-2 เขายอมรับพระคริสต์ว่าเป็นพระผู้ช่วยให้รอดจริงและยอมรับว่าพระองค์ได้มาจากพระเจ้า เขาได้อ่านถึงการอัศจรรย์ของพระคริสต์ และเขาได้แสวงหาพระคริสต์เพื่อได้ยินเพิ่มเติมจากพระองค์ ในเวลาที่เขาได้ยินเกี่ยวกับการบังเกิดใหม่ (3:3-8), เขายอมรับหรือไม่ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เขาได้แสวงหาในอดีต? ไม่เลย! เขาตกใจและสับสนและตอนแรกๆเขาปฏิเสธเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ (3:9) แม้แต่นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดยอมรับว่าเขาไม่ได้รู้เกี่ยวกับพระคริสต์ และน้อยไปกว่านี้คือความสามารถที่จะแสวงหาสิ่งที่เป็นของความรอดก่อนที่พระเยซูคริสต์จะมา เมื่อเขายอมรับสิ่งนี้ เขากำลังยอมรับว่า "เจตจํานงเสรี" ของเขาคือความโง่เขลาและไม่มีพลังใดๆ! แน่นอนคนที่สอน "เจตจำนงเสรี" ก็บ้าไปเลย แต่พวกเขาไม่ยอมที่จะเงียบและถวายเกียรติแด่พระเจ้า
การโต้วาทีข้อที่ 14: "เจตจำนงสันติ" ไม่มีค่าอะไรเลยเพราะว่าความรอดอยู่ในพระคริสต์เท่านั้น
ยอห์น 14:6 ชัดเจนในการพูดถึงพระคริสต์ “เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต” คือว่าเราจะเจอความรอดในพระเยซูคริสต์เท่านั้น เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่อยู่นอกพระคริสต์ก็เป็นเพียงแค่ความมืด ความเท็จ และความตาย พระคริสต์จะต้องมาทำไมถ้าในธรรมชาติของมนุษย์เข้าใจทางที่จะไปหาพระเจ้าอยู่แล้ว, รู้จักความจริงของพระเจ้าแล้ว และมีส่วนร่วมในชีวิตที่มาจากพระเจ้าแล้ว?
ฝ่ายค้านจะชอบพูดว่ามนุษย์ที่ชั่วมี "เจตจำนงเสรี" แม้แต่เขาใช้ในทางที่ผิด ถ้าอย่างนั้น มีอะไรที่ดีบางอย่างในมนุษย์ที่ชั่วที่สุด และถ้าเป็นอย่างนั้นพระเจ้าไม่ยุติธรรมในการลงโทษพวกเขา
แต่ยอห์นบอกว่า "คนที่ไม่ได้วางใจก็ถูกพิพากษาอยู่แล้ว เพราะเขาไม่ได้วางใจในพระนามพระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า" -ยอห์น 3:18
แต่ถ้ามนุษย์มีสิ่งดีสิ่งนี้ที่เรียกว่า "เจตจำนงเสรี" ยอห์นคงจะต้องบอกว่า พวกเขาจะถูกพิพากษาเพราะส่วนที่ไม่ดีในพวกเขา พระคัมภีร์บอกว่า
คนที่วางใจในพระบุตรก็มีชีวิตนิรันดร์ คนที่ไม่เชื่อฟังพระบุตรก็จะไม่ได้เห็นชีวิต แต่พระพิโรธของพระเจ้าตกอยู่กับเขา -ยอห์น 3:36
สิ่งนี้จะต้องหมายความว่าทั้งหมดของมนุษย์ ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะมีส่วนหนึ่งของเขาที่กั้นเขาจากการถูกพิพากษา เขาสามารถทำบาปต่อโดยไม่ต้องกลัวอะไรเลย มั่นใจในความรู้ว่าเขาไม่สามารถถูกพิพากษาได้
อีกครั้งหนึ่งเราอ่านใน ยอห์น 3:27 ว่า “ไม่มีใครสามารถรับสิ่งใด นอกจากสิ่งที่พระเจ้าประทานจากสวรรค์ให้เขา"
สิ่งนี้จะพูดถึงความสามารถของมนุษย์ที่จะทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าได้ เฉพาะสิ่งที่มาจากเบื้องบนจะสามารถช่วยให้มนุษย์ทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าได้ แต่ "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้มาจากเบื้องบนเพราะฉะนั้น "เจตจำนงเสรี" ไม่มีคุณค่าอะไรเลย
ใน ยอห์น 3:31, ยอห์นบอกว่า, “พระองค์ผู้เสด็จมาจากเบื้องบนทรงเป็นใหญ่เหนือทุกสิ่ง ผู้ที่มาจากโลกก็อยู่ฝ่ายโลกและพูดตามอย่างโลก พระองค์ผู้เสด็จมาจากสวรรค์ทรงเป็นใหญ่เหนือทุกสิ่ง”
แน่นอน "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้มีต้นกำเนิดในสวรรค์ แต่เป็นของโลกนี้ และไม่มีความสามารถเป็นอย่างอื่น หมายความว่า "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่เบื้องบน แต่เป็นของสิ่งที่อยู่เบื้องล่าง
ใน ยอห์น 8:23 พระคริสต์บอกว่า “พระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “พวกท่านเป็นของเบื้องล่าง เราเป็นของเบื้องบน ท่านเป็นของโลกนี้ เราไม่ได้เป็นของโลกนี้”
ถ้าประโยคนี้มีความหมายว่า ร่างกายของเขาไม่ได้เป็นของเบื้องล่าง ประโยคนี้จะไม่มีความจำเป็นอะไรเลย เพราะเขารู้สิ่งนี้อยู่แล้ว พระคริสต์หมายความว่าเขาขาดพลังฝ่ายวิญญาณ และพลังนั้นสามารถมาจากพระเจ้าเท่านั้น
การโต้วาทีข้อที่ 15: มนุษย์ไม่มีความสามารถที่จะเชื่อข่าวประเสริฐดังนั้นความพยายามของเขาต่างๆ ไม่สามารถช่วยเขาให้รอดได้
ไม่มีใครมาถึงเราได้นอกจากพระบิดาผู้ทรงใช้เรามาจะทรงชักนำให้เขามา และเราจะให้คนนั้นเป็นขึ้นมาในวันสุดท้าย มีคำเขียนไว้ในหนังสือผู้เผยพระวจนะว่า ‘พระเจ้าจะทรงสั่งสอนพวกเขาทุกคน’ ทุกคนที่ได้ยินได้ฟังและได้เรียนรู้จากพระบิดาก็มาถึงเรา -ยอห์น 6:44-45
ใน ยอห์น 6:44, พระคริสต์บอกว่า, “ไม่มีใครมาถึงเราได้นอกจากพระบิดาผู้ทรงใช้เรามาจะทรงชักนำให้เขามา”
สิ่งนี้ทำให้ไม่มีที่ว่างสำหรับ "เจตจำนงเสรี" อย่างแน่นอน พระองค์อธิบายต่อถึงการชักนำพามาของพระบิดา “ทุกคนที่ได้ยินได้ฟังและได้เรียนรู้จากพระบิดาก็มาถึงเรา” (ข้อที่ 45).
เจตจำนงของมนุษย์โดยมันเอง ไม่มีพลังที่จะทำอะไรเพื่อเข้ามาหาพระคริสต์เพื่อความรอด แม้แต่การได้ยินถ้อยคำของข่าวประเสริฐก็ยังได้ยินอย่างไร้ประโยชน์ นอกจากพระบิดาได้พูดกับหัวใจของเราและชักนำเราเข้ามาหาพระคริสต์
เอราสมัส ต้องการที่จะมองข้ามความหมายของข้อนี้ด้วยการเปรียบเทียบมนุษย์กับแกะที่ได้ตอบผู้เลี้ยงแกะของเขาเวลาเขายื่นกิ่งไม้ให้ เขาอ้างว่ามีอะไรในมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกับข่าวประเสริฐได้ แต่ก็ยังเป็นไปไม่ได้เพราะว่าแม้แต่พระเจ้าจะทรงแสดงของประธานคือพระบุตรของพระเจ้าองค์เดียวให้แก่ผู้ไม่ชอบธรรม พวกเขาจะไม่ตอบนอกจากว่าพระองค์ได้ทำงานภายในพวกเขา
แน่นอนปราศจากการทำงานของพระบิดาในใจของมนุษย์ มนุษย์ก็มีความเป็นไปได้ที่จะข่มเหงพระคริสต์มากกว่าที่จะติดตามพระองค์ แต่เมื่อพระบิดาแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของพระบุตร ให้แก่ผู้ที่ได้รับความเข้าใจจากพระเจ้า พวกเขาก็จะชักนำมาถึงพระองค์ คือคนเหล่านี้เป็น "แกะ" อยู่แล้วและพวกเขารู้จักเสียงของผู้เลี้ยงแกะ!
การโต้วาทีข้อที่ 16: การไม่เชื่อสากลพิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนเท็จ
เมื่อพระองค์เสด็จมาแล้ว พระองค์จะทรงทำให้โลกรู้แจ้งในเรื่องความบาป ความชอบธรรม และการพิพากษา ในเรื่องความบาปนั้น คือเพราะพวกเขาไม่วางใจในเรา -ยอห์น 16:8-9
ใน ยอห์น 16:8 พระเยซูบอกว่าพระวิญญาณจะ“ทำให้โลกรู้แจ้งในเรื่องความบาป,” พูดอีกแบบหนึ่งก็คือว่า พระองค์ก็จะทำให้โลกรู้ถึงความผิดบาปของตัวเอง ในข้อที่ 9 พระองค์อธิบายว่ามีความบาป “เพราะพวกเขาไม่วางใจในเรา” ความบาปของการไม่เชื่อไม่ใช่อยู่ในผิวหนังหรือผม แต่อยู่ในสมองและเจตจำนง มนุษย์ทุกคนไม่มีการยกเว้นใครเลย ไม่ทราบถึงความจริงว่าความผิดบาปของการไม่เชื่อเท่ากับความไม่ทราบถึงพระคริสต์พระองค์เอง คือความผิดบาปของการไม่เชื่อต้องถูกสำแดงให้เขาเห็นโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่อยู่ในมนุษย์รวมถึง "เจตจำนงเสรี" ยืนต่อหน้าพระพักต์พระเจ้าด้วยการถูกตัดสินแล้ว และ "เจตจำนงเสรี" นั้นมีแค่ความสามารถที่จะเพิ่มความผิดบาปซึ่งเขายังไม่ทราบจนถึงพระเจ้าจะสำแดงให้เขาเห็น พระคัมภีร์ทั้งหมดได้กล่าวว่าพระเยซูคริสต์เป็นทางเดียวถึงความรอด ใครก็ตามที่อยู่ข้างนอกพระเยซูคริสต์ก็อยู่ใต้อำนาจของมารซาตาน ความบาป ความตาย และพระพิโรธของพระเจ้า พระเยซูคริสต์เท่านั้นสามารถช่วยมนุษย์ให้รอดจากอาณาจักรมารซาตาน พวกเราจะไม่มาถึงด้วยพลังของเราเองแต่ด้วยพระคุณของพระเจ้าเท่านั้น!
การโต้วาทีข้อที่ 17: พลังของ "เนื้อหนัง" ในผู้เชื่อที่เที่ยงแท้ได้พิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนเท็จ
เพราะเหตุผลเดียวกัน เอราสมัส ไม่ได้สนใจการโต้วาทีของผมจาก โรม 7 และ กาลาเทีย 5. สองบทเหล่านี้ทำให้เราเห็นแล้วว่าแต่ในชีวิตของคริสเตียนแท้ พลังอำนาจของ "เนื้อหนัง" มีมากถึงขั้นที่เขาไม่สามารถทำสิ่งที่เขารู้ว่าต้องทำและต้องการที่จะทำ ธรรมชาติของมนุษย์แย่มากถึงขั้นที่ แม้แต่มนุษย์ที่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์ในใจของเขา ไม่ใช่ว่าเขาไม่สำเร็จในการทำสิ่งที่ดีเท่านั้น แต่พวกเขาจะต่อสู้สิ่งที่ดีด้วย แล้วจะมีความเป็นไปได้อะไรว่าคนที่ยังไม่เกิดใหม่จะทำอะไรดีได้?
เหมือนที่เปาโลบอกใน โรม 8:7, “เพราะว่าการเอาใจใส่เนื้อหนังนั้นคือการเป็นศัตรูต่อพระเจ้า”
ผมก็คงชอบที่จะเจอคนที่สามารถต่อต้านคำโต้วาทีนี้!
การโต้วาทีข้อที่ 18: การรู้ว่าความรอดไม่ได้ขึ้นอยู่กับ "เจตจำนงเสรี" สามารถทำให้เราสบายใจมากได้
ผมยอมรับว่าผมไม่ได้ต้องการ "เจตจำนงเสรี" แม้แต่พระเจ้าจะให้! ถ้าความรอดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผม ผมจะไม่ไหวกับความอันตรายความยากลำบากและมารซาตานต่างๆที่ผมจะต้องต่อสู้ แต่แม้แต่จะไม่มีศัตรูที่ต้องสู้ ผมไม่สามารถมั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จ คือผมจะไม่มั่นใจว่าผมได้ทำให้พระเจ้าพอพระทัยหรือมีอะไรเพิ่มเติมที่ผมควรจะทำ ผมสามารถพิสูจน์สิ่งเหล่านี้จากประสบการณ์ที่เจ็บปวดของผมในหลายปีที่ผ่านมา
แต่ความรอดของผมก็อยู่ในฝีพระหัตถ์ของพระองค์ไม่ใช่ในมือของผมเอง พระองค์ทรงซื่อสัตย์ที่จะรักษาพระสัญญาที่จะช่วยผมให้รอดได้ ไม่ใช่เพราะสิ่งที่ผมได้ทำแต่เพราะพระเมตตาอันใหญ่หลวงของพระองค์ พระเจ้าไม่ทรงโกหก พระเจ้าจะไม่ทรงยอมให้ศัตรูของผมคือมารซาตานมาแย่งผมออกจากฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ด้วย "เจตจำนงเสรี" ไม่มีสักคนนึงที่จะสามารถรอดได้ แต่ด้วยพระคุณของพระเจ้า หลายคนจะได้รับความรอด ไม่ใช่แค่นั้น แต่ผมดีใจที่จะรู้ว่าในขณะที่เป็นคริสเตียนผมสามารถทำให้พระเจ้าพอพระทัย ไม่ใช่เพราะสิ่งที่ผมได้ทำแต่เพราะพระคุณของพระเจ้า ถ้าผมทำงานน้อยเกินไปหรือดีไม่พอ พระองค์ให้อภัยสม่ำเสมอและได้สร้างผมเป็นคนที่ดีกว่าเดิม สิ่งนี้แหละเป็นเกียรติของคริสเตียนทุกคน
การโต้วาทีข้อที่ 19: พระเกียรติของพระเจ้าไม่สามารถถูกทำให้มัวหมอง
ท่านอาจจะกังวลว่ามันยากที่จะปกป้องเกียรติของพระเจ้าในเรื่องเหล่านี้ "เพราะว่า" ท่านอาจจะบอกว่า "พระเจ้าได้กล่าวโทษคนที่ช่วยตัวเองให้รอดจากความบาปไม่ได้ คือถูกบังคับให้อยู่ในสภาพอย่างนั้นเพราะพระเจ้าไม่ช่วยให้เขารอด"
เหมือนที่เปาโลบอกพวกเรา “จึงเป็นคนที่สมควรได้รับการลงโทษเหมือนอย่างคนอื่นๆ" -เอเฟซัส 2:3
แต่ท่านควรจะต้องมองอีกแบบนึง พระเจ้าควรจะได้รับเกียรติที่ซึ่งเป็นผู้ที่เมตตาทุกคนที่พระองค์ได้ชำระให้ชอบธรรมและช่วยให้รอดแม้แต่พวกเขาไม่สมควรได้รับอะไรเลย เรารู้ว่าพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้ายิ่งใหญ่ พระองค์ทรงมีพระปัญญาและทรงยุติธรรม ความยุติธรรมของพระองค์ไม่เหมือนกับความยุติธรรมของมนุษย์ คือเหนือความเข้าใจของมนุษย์
เหมือนที่เปาโลบอก โรม 11:33, “โอ พระปัญญาและความรอบรู้ของพระเจ้านั้น ล้ำลึกเท่าใด ข้อตัดสินของพระองค์นั้นเหลือที่จะหยั่งรู้ได้ และทางของพระองค์ก็เหลือที่จะสืบเสาะได้"
ถ้าเราเห็นด้วยว่าแก่นแท้ฤทธานุภาพ สติปัญญาและความรู้ของพระเจ้าก็สูงกว่าเราทั้งหลายมากมาย เราทั้งหลายก็ควรจะเชื่อว่าความยุติธรรมของพระองค์ใหญ่ยิ่งกว่าของเราและดีกว่าของเราเช่นเดียวกัน พระองค์ได้สัญญาว่า เมื่อพระองค์สำแดงพระสิริของพระองค์ให้แก่เรา เราจะเห็นอย่างชัดเจนสิ่งที่เราควรจะเชื่ออะไรตอนนี้ ว่าพระองค์ทรงยุติธรรม ทรงยุติธรรมตลอดมา และจะยุติธรรมตลอดไป (1 โครินธ์ 13:12)
ยกตัวอย่างอีกอย่างนึง ถ้าเราใช้เหตุผลแบบมนุษย์เพื่อระลึกถึงวิธีที่พระเจ้าปกครองโลกนี้ ท่านจะต้องบอกว่าไม่มีพระเจ้าหรือพระเจ้าไม่ยุติธรรม คนอธรรมประสบความสำเร็จและคนดีทนทุกข์ทรมาน (ดูที่ โยบ 12:16 สดุดี 73:12) และสิ่งนี้ดูเหมือนกับว่าไม่ยุติธรรม ดังนั้นมนุษย์หลายคนปฏิเสธว่ามีพระเจ้าอยู่จริง และบอกว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นอุบัติเหตุ
คำตอบสำหรับปัญหานี้ก็คือว่ามีชีวิตหลังจากชีวิตนี้ และทุกอย่างที่พระเจ้ายังไม่ได้ลงโทษหรือจัดการในโลกนี้ จะถูกลงโทษหรือจัดการในตอนนั้น ชีวิตนี้เป็นเพียงแค่การเตรียมพร้อมสำหรับ หรือพูดแบบนี้ดีกว่า เป็นการเริ่มต้นชีวิตที่กำลังจะมา หลายคนได้พูดถึงปัญหานี้ในทุกยุคสมัยแต่แก้ปัญหานี้ไม่ได้นอกจากการเชื่อข่าวประเสริฐที่ได้เจอในพระวจนะของพระเจ้า
มีความสว่าง 3 อย่างที่กำลังส่องแสงบนปัญหานี้: แสงแห่งธรรมชาติ แสงแห่งพระคุณ แสงแห่งพระสิริ ด้วยแสงแห่งธรรมชาติพระเจ้าดูเหมือนไม่ยุติธรรมเพราะว่าคนดีทนทุกข์ทรมานมันและคนชั่วประสบความสำเร็จ แสงแห่งพระคุณได้ช่วยเรามากขึ้น แต่ไม่สามารถช่วยในการอธิบายว่าทำไมถึงพระเจ้าลงโทษคนหนึ่งคนใดซึ่งไม่มีพลังที่จะทำอะไรนอกจากความบาป
แสงแห่งพระสิริเท่านั้นที่จะช่วยเราอธิบายเรื่องนี้ ในวันนั้นที่กำลังมาถึงที่พระเจ้าสำแดงพระองค์เป็นพระเจ้าที่ยุติธรรมโดยสิ้นเชิงแม้แต่การพิพากษาของพระองค์เหนือความเข้าใจของมนุษย์ คนชอบธรรมก็จะเชื่อว่า พระเจ้ารู้ทุกอย่างก่อนล่วงหน้าและกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง และไม่มีอะไรจะเกิดขึ้นนอกจากน้ำพระทัยของพระองค์ เพราะฉะนั้นไม่มีมนุษย์คนไหนหรือทูตสวรรค์หรือสิ่งที่พระเจ้าสร้างอย่างอื่น ที่มี "เจตจำนงเสรี" มารซาตานเป็นผู้ครองโลกนี้และจับมนุษย์ค้างไว้ในความบาปนอกจากด้วยพลังของพระวิญญาณบริสุทธิ์เขาได้รับการไถ่
This material first appeared as Section VII in The Bondage of the Will. This text is excerpted from chapter one of Born Slaves, an abridged version in modern English of Martin Luther’s The Bondage of the Will (first published in 1525).
สารบัญ
การโต้วาทีข้อที่ 1:
ความผิดบาปของมนุษยชนได้พิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนเท็จ
การโต้วาทีข้อที่ 2:
การปกครองของความบาปพิสูจน์ว่า "เจตจํานงเสรี" เป็นคำสอนที่เทียมเท็จ
การโต้วาทีข้อที่ 3:
"เจตจำนงเสรี" ไม่สามารถทำให้พระเจ้ายอมรับเราได้เพราะการรักษา กฎตามบัญญัติศีลธรรมหรือกฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ
การโต้วาทีข้อที่ 4:
พระเจ้าประทานกฎธรรมบัญญัติให้แก่เราเพื่อนำเรามาถึงพระคริสต์ด้วยการให้ความรู้สึกถึงของความบาป
การโต้วาทีข้อที่ 5:
หลักคำสอนความรอดด้วยความเชื่อในพระคริสต์เท่านั้น ได้พิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนที่ผิดพลาด
การโต้วาทีข้อที่ 6:
ไม่มีพื้นที่สำหรับแนวคิดของการทำบุญหรือการหาผลตอบแทน
การโต้วาทีข้อที่ 7:
"เจตจำนงเสรี" ไม่มีคุณค่าเพราะว่า การกระทำของมนุษย์ไม่ได้เกี่ยวกับความชอบธรรมของมนุษย์ต่อหน้าพระเจ้า
การโต้วาทีข้อที่ 8:
กำปั้นเต็มไปด้วยการโต้วาทีต่างๆ
การโต้วาทีข้อที่ 9:
เปาโลชัดเจนที่สุดในการต่อต้าน "เจตจำนงเสรี"
การโต้วาทีข้อที่ 10:
สภาพของมนุษย์ปราศจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ทำให้เราเห็นว่า "เจตจำนงเสรี" ไม่สามารถทำอะไรพิเศษได้เลย
การโต้วาทีข้อที่ 11:
คนที่มารู้จักพระเยซูคริสต์ ก่อนหน้านั้นก็ไม่ได้นึกถึงพระองค์ และไม่ได้แสวงหาพระองค์หรือเตรียมตัวเองสำหรับพระองค์
การโต้วาทีข้อที่ 12:
ความรอดสำหรับโลกที่เต็มไปด้วยความบาป คือด้วยพระคุณด้วยความเชื่อเท่านั้น
การโต้วาทีข้อที่ 13:
นิโคเดมัส ต่อต้าน "เจตจำนงเสรี" ใน ยอห์น บทที่ 3
การโต้วาทีข้อที่ 14:
"เจตจำนงสันติ" ไม่มีค่าอะไรเลยเพราะว่าความรอดอยู่ในพระคริสต์เท่านั้น
การโต้วาทีข้อที่ 15:
มนุษย์ไม่มีความสามารถที่จะเชื่อข่าวประเสริฐดังนั้นความพยายามของเขาต่างๆ ไม่สามารถช่วยเขาให้รอดได้
การโต้วาทีข้อที่ 16:
การไม่เชื่อสากลพิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนเท็จ
การโต้วาทีข้อที่ 17:
พลังของ "เนื้อหนัง" ในผู้เชื่อที่เที่ยงแท้ได้พิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนเท็จ
การโต้วาทีข้อที่ 18:
การรู้ว่าความรอดไม่ได้ขึ้นอยู่กับ "เจตจำนงเสรี" สามารถทำให้เราสบายใจมากได้
การโต้วาทีข้อที่ 19:
พระเกียรติของพระเจ้าไม่สามารถถูกทำให้มัวหมอง
การผูกมัดเจตจำนง- “พระคัมภีร์สอนอะไร”
พระคัมภีร์เป็นเหมือนหลายๆกองทัพ ที่ต่อต้านแนวคิดว่า มนุษย์มี "เจตจำนงเสรี" ที่จะเลือกและต้อนรับความรอด แต่อย่างไรก็ตาม มันก็เพียงพอสำหรับผมที่จะนำ 2 นายพลเข้ารบ คือ เปาโลกับยอห์น พร้อมกับกองกำลังติดอาวุธบางอย่างของเขา
การโต้วาทีข้อที่ 1: ความผิดบาปของมนุษยชนได้พิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนเท็จ
เพราะว่าในข่าวประเสริฐนั้น ความชอบธรรมซึ่งเกิดมาจากพระเจ้าก็ได้สำแดงออกโดยความเชื่อ และเพื่อความเชื่อ ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า “คนชอบธรรมจะมีชีวิตดำรงอยู่โดยความเชื่อ” เพราะว่าพระเจ้าทรงสำแดงพระพิโรธของพระองค์จากสวรรค์ ต่อความหมิ่นประมาทพระองค์ และความชั่วร้ายทั้งมวลของมนุษย์ ที่เอาความชั่วร้ายนั้นบีบคั้นความจริง เพราะการที่จะรู้จักพระเจ้าได้ก็แจ้งอยู่กับพวกเขา เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงสำแดงแก่เขาแล้ว -โรม 1:17-19
ในโรม 1:18 เปาโลสอนว่า มนุษย์ทุกคน ไม่ยกเว้นใคร สมควรถูกลงโทษจากพระเจ้า:
“พระพิโรธของพระองค์จากสวรรค์ ต่อความหมิ่นประมาทพระองค์ และความชั่วร้ายทั้งมวลของมนุษย์ ที่เอาความชั่วร้ายนั้นบีบคั้นความจริง”
ถ้ามนุษย์ทั้งหลายมี "เจตจำนงเสรี" และในขณะเดียวกัน ทุกคนอยู่ใต้พระพิโรธของพระเจ้าไม่ยกเว้นใคร จำเป็นต้องหมายความว่า "เจตจำนงเสรี" จะเป็นไปในทางเดียวคือ "ความหมิ่นประมาทพระองค์ และความชั่วร้าย"
ดังนั้น อำนาจของ "เจตจำนงเสรี" ที่จะช่วยให้พวกเขาทำดี อยู่ตรงไหน? ถ้า "เจตจำนงเสรี" มีอยู่จริง ดูเหมือนกับว่าไม่มีความสามารถที่จะช่วยให้มนุษย์เข้าหาความรอดได้เพราะว่า มันยังทิ้งพวกเขาใต้พระพิโรธของพระเจ้าอยู่ดี แต่บางคนอาจจะกล่าวโทษผมว่าไม่ได้อ่านคำพูดของเปาโลให้ดีเพียงพอ
พวกเขากล่าวว่าคำพูดของเปาโล "ต่อความหมิ่นประมาทพระองค์ และความชั่วร้ายทั้งมวลของมนุษย์ ที่เอาความชั่วร้ายนั้นบีบคั้นความจริง" ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์ทุกคนไม่ยกเว้นใครผิดบาปในสายพระเนตรพระเจ้า พวกเขาบอกว่า ข้อความ เปิดทางให้เป็นไปได้ว่า บางคนอาจจะไม่ "เอาความชั่วร้ายนั้นบีบคั้นความจริง" แต่เปาโลกำลังใช้ คำศัพท์ภาษาฮิบรูซึ่งทำให้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความหมายคือ ความชั่วร้ายของมนุษย์ทุกคน
นอกจากนี้ ต้องสังเกตดูสิ่งที่เปาโลเขียนในข้อก่อนหน้า ในข้อที่ 16 เปาโลบอกว่าข่าวประเสริฐเป็น "ข่าวประเสริฐนั้นเป็นฤทธานุภาพของพระเจ้า เพื่อให้ทุกคนที่เชื่อได้รับความรอด"
สิ่งนี้จำเป็นต้องหมายความว่านอกจากอำนาจของพระเจ้าในข่าวประเสริฐ ไม่มีใครมีกำลังที่จะกลับใจเข้าหาพระเจ้าด้วยตัวเองได้ เปาโลอธิบายต่อว่า เป็นความจริงสำหรับทั้งชาวยิวและชาวกรีก ชาวยิวรู้กฎธรรมบัญญัติของพระเจ้าอย่างละเอียดแต่สิ่งนี้ไม่ได้ช่วยให้เขาพ้นจากพระพิโรธของพระเจ้า ชาวกรีกได้ประโยชน์จากวัฒนธรรมหลายอย่าง แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้เขาใกล้ชิดกับพระเจ้า มีชาวยิวอยู่กับชาวกรีกที่พยายามอย่างเคร่งครัดที่จะทำให้ตัวเองคืนดีกับพระเจ้า แต่ไม่ว่าพวกเขาจะมีจุดแข็งมากแค่ไหน "เจตจํานงเสรี" ของเขาล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เปาโลไม่ช้าในการกล่าวโทษตัดสินพวกเขาทั้งหลาย
หลังจากนั้นต้องสังเกตดูที่ข้อ 17 เปาโลบอกว่า "ความชอบธรรมซึ่งเกิดจากพระเจ้า" ได้สำแดง ดังนั้นพระเจ้าสำแดงความชอบธรรมของพระองค์แก่มนุษย์ แต่พระเจ้าไม่โง่เขลา ถ้ามนุษย์ไม่จำเป็นต้องรับการช่วยเหลือจากพระเจ้า พระองค์จะไม่ทรงเสียเวลาในการประทานให้ ทุกครั้งที่มีคนบังเกิดใหม่ได้เกิดขึ้นเพราะว่าพระเจ้าได้มาถึงพวกเขาและได้ชนะความโง่เขลาของเขาด้วยการแสดงข่าวประเสริฐให้เขาเห็น
นอกจากนี้เขาไม่สามารถรอดได้ ไม่มีใครในประวัติศาสตร์มนุษย์เคยคิดด้วยตัวเอง ข้อเท็จจริงของพระพิโรธของพระเจ้าเหมือนที่สอนในพระคัมภีร์ ไม่มีใครเคยคิดฝันเกี่ยวกับการได้รับสันติสุขกับพระเจ้าผ่านทางชีวิตและการกระทำของพระผู้ช่วยให้รอดผู้หนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ คือพระเจ้าที่เป็นมนุษย์ด้วยคือพระเยซูคริสต์ ในความเป็นจริงชาวยิวต่อต้านพระคริสต์ไม่ว่าผู้เผยพระวจนะได้สอนมากแค่ไหนก็ตาม ดูเหมือนกับว่าความดีเล็กน้อยที่ชาวยิวกับชาวกรีกได้ทำ (ในสายตาของตัวเอง) ได้ทำให้เขาไม่แสวงหาพระเจ้าและทางของพระองค์ เพราะว่าพวกเขาตั้งใจที่จะดำเนินชีวิตตามทางของตัวเอง ดังนั้น "เจตจำนงเสรี" ยิ่งพยายามก็ยิ่งแย่
ไม่มีกลุ่มที่ 3 ที่ไหนเลยนอกจากผู้เชื่อกับผู้ไม่เชื่อ คือไม่มีกลุ่มไหนที่มีความสามารถที่จะช่วยตัวเองให้รอดได้ คือชาวยิวกับชาวกรีกเป็นมนุษยชาติทั้งสิ้น และทุกคนอยู่ใต้พระพิโรธของพระเจ้า
ไม่มีใครมีความสามารถที่จะกลับใจเข้าหาพระเจ้าได้ คือพระเจ้าต้องปรากฏพระองค์เองให้เขาเห็นก่อน ถ้ามันเป็นไปได้โดย "เจตจำนงเสรี" คงจะมีชาวยิวสักคนนึงที่เคยทำ แบบนั้นและความตั้งใจที่ดีที่สุดของชาวยิว ไม่สามารถช่วยพวกเขาให้ใกล้ขึ้นกับความเชื่อในพระคริสต์ (โรม 1:21; 2:23, 28:29) พวกเขาเป็นคนบาปที่ถูกลงโทษแล้วพร้อมกับทุกคนอื่นๆ ถ้ามนุษย์ทุกคนมี "เจตจำนงเสรี" และมนุษย์ทุกคนเป็นคนบาป และได้ถูกตัดสินแล้ว "เจตจํานงเสรี" นี้ไม่มีอำนาจที่จะนำพวกเขาเข้ามาหาความเชื่อในพระคริสต์ได้ ดังนั้น เจตจำนงของพวกเขาไม่มีเสรีภาพตั้งแต่แรก
การโต้วาทีข้อที่ 2: การปกครองของความบาปพิสูจน์ว่าเจตจํานงเสรีเป็นคำสอนที่เทียมเท็จ
ถ้าเช่นนั้นจะว่าอย่างไร? พวกยิวเราจะได้เปรียบกว่าหรือ? เปล่าเลยเพราะเราได้ชี้แจงให้เห็นแล้วว่า มนุษย์ทุกคนทั้งพวกยิวและพวกกรีกต่างก็อยู่ใต้อำนาจบาป ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า “ไม่มีผู้ใดเป็นคนชอบธรรมสักคนเดียวไม่มีเลย ไม่มีคนที่เข้าใจ ไม่มีคนที่แสวงหาพระเจ้า เขาทุกคนหลงผิดไปหมด พวกเขาเลวทรามเหมือนกันสิ้น ไม่มีสักคนเดียวที่ทำดี ไม่มีเลย ลำคอของพวกเขาคือหลุมฝังศพที่เปิดอยู่ เขาใช้ลิ้นของเขาในการล่อลวง พิษงูร้ายอยู่ใต้ริมฝีปากของเขา ปากของพวกเขาเต็มด้วยคำแช่งด่าอันขมขื่น เท้าของเขาว่องไวในการทำให้นองเลือด ในทางเดินของเขามีความพินาศและความทุกข์ และเขาไม่รู้จักทางแห่งสันติสุข เขาไม่เคยคิดจะยำเกรงพระเจ้า ” เรารู้แล้วว่า ธรรมบัญญัติทุกข้อที่ได้กล่าวนั้น ก็กล่าวแก่พวกที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อปิดปากทุกคน และให้โลกทั้งหมดอยู่ใต้การพิพากษาของพระเจ้า เพราะว่าในสายพระเนตรของพระเจ้า ไม่มีใครถูกชำระให้ชอบธรรมได้โดยการประพฤติตามธรรมบัญญัติ เพราะว่าธรรมบัญญัตินั้นทำให้เรารู้จักบาป แต่เดี๋ยวนี้ความชอบธรรมของพระเจ้านั้นปรากฏนอกเหนือธรรมบัญญัติ ความชอบธรรมดังกล่าวก็ได้รับการยืนยันจากหมวดธรรมบัญญัติและพวกผู้เผยพระวจนะ คือความชอบธรรมของพระเจ้า ซึ่งปรากฏโดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์แก่ทุกคนที่เชื่อ โดยไม่ทรงถือว่าเขาแตกต่างกัน เพราะว่าทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า แต่พระเจ้าทรงมีพระคุณให้เขาเป็นผู้ชอบธรรมโดยไม่คิดมูลค่า โดยที่พระเยซูคริสต์ทรงไถ่เขาให้พ้นบาปแล้ว พระเจ้าได้ทรงตั้งพระเยซูไว้ให้เป็นเครื่องบูชาไถ่บาปโดยพระโลหิตของพระองค์ ความเชื่อจึงได้ผล ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นความชอบธรรมของพระเจ้า ในการที่พระองค์ได้ทรงอดกลั้นพระทัย และทรงยกบาปที่ได้ทำไปแล้วนั้น -โรม 3:9-25
เราต้องให้เปาโลอธิบายคำสอนของเขาเองในโรม 3:9 เขาบอกว่า "ถ้าเช่นนั้นจะว่าอย่างไร? พวกยิวเราจะได้เปรียบกว่าหรือ? เปล่าเลยเพราะเราได้ชี้แจงให้เห็นแล้วว่า มนุษย์ทุกคนทั้งพวกยิวและพวกกรีกต่างก็อยู่ใต้อำนาจบาป" ไม่ใช่แค่ว่าว่ามนุษย์ทุกคนไม่ยกเว้นใครผิดบาปในใจพระเนตรพระเจ้า แต่เขาเป็นทาสถึงความบาปนั้นซึ่งทำให้เขาเป็นคนผิดบาป อันนี้รวมถึงชาวยิวด้วยซึ่งชอบที่จะคิดว่าเขาไม่ได้เป็นทาสของความบาปเพราะว่าพวกเขาได้รับกฎธรรมบัญญัติกับพระเจ้า ดังนั้นไม่ว่าจะพูดถึงชาวยิวหรือชาวกรีกไม่มีใครมีความสามารถที่จะไถ่ตัวเองจากการเป็นทาส แน่นอนมนุษย์ไม่มีความสามารถอะไรเลยที่จะทำความดีสักอย่างได้
ความเป็นทาสของความบาปสากลอันนี้ ได้รวมถึงพวกเขาที่ดูจากภายนอกว่าเป็นคนที่สุภาพเรียบร้อย ไม่ว่ามนุษย์จะสามารถทำความดีได้มากแค่ไหนในธรรมชาติของตัวเอง ยังคงเทียบไม่ได้เหมือนกับความรู้ที่มาจากพระเจ้า สิ่งที่ดีที่สุดเกี่ยวกับมนุษยชาติคือตรรกะและเจตจำนง แต่พวกเราต้องยอมรับว่าสิ่งที่หน้าชื่นชมนี้ได้ตกลงไปในความบาปแล้ว
เปาโลบอกใน โรม 3:10-12, “ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า “ไม่มีผู้ใดเป็นคนชอบธรรมสักคนเดียวไม่มีเลย ไม่มีคนที่เข้าใจ ไม่มีคนที่แสวงหาพระเจ้า เขาทุกคนหลงผิดไปหมด พวกเขาเลวทรามเหมือนกันสิ้น ไม่มีสักคนเดียวที่ทำดี ไม่มีเลย"
ความหมายของคำเหล่านี้ชัดเจน คือถ้าจะรู้จักพระเจ้าก็ด้วยตรรกะและเจตจำนง แต่ในธรรมชาติของมนุษย์ไม่มีใครรู้จักพระเจ้า เพราะฉะนั้นเราต้องสรุปว่า เจตจำนงของมนุษย์เสียไปแล้วและมนุษย์ไม่มีความสามารถด้วยตัวเองที่จะรู้จักพระเจ้าหรือนมัสการพระเจ้าได้
บางคนที่กล้าอาจจะบอกว่าพวกเรามีความสามารถที่จะทำมากกว่าที่เราได้ทำ แต่เราสนใจแค่ว่าสิ่งที่เราสามารถทำได้ ไม่ใช่สิ่งที่เราจะทำหรือไม่ทำแต่ความเป็นจริง พระคัมภีร์ที่เปาโลได้อ้างถึงใน โรม 3:10-12 จะไม่ได้ให้เราแยกแยะแบบนั้น พระเจ้ากล่าวโทษทั้งความไม่สามารถของคนบาปและการกระทำที่ผิดบาปในเวลาเดียวกัน ถ้ามนุษย์มีความสามารถสักนิดนึงที่จะไปในทางของพระเจ้า ก็จะไม่มีความจำเป็นสำหรับพระเจ้าที่จะช่วยให้เขารอด ถ้ามนุษย์มีความสามารถด้วยตัวเอง พระเจ้าก็คงปล่อยให้เขาช่วยตัวเองให้รอด แต่ไม่มีมนุษย์คนใดที่มีความสามารถที่จะพยายามทำมันได้
ในโรม 3:19 เปาโลบอกว่า "เพื่อปิดปากทุกคนและให้โลกทั้งหมดอยู่ใต้การพิพากษาของพระเจ้า" เพราะไม่มีใครสามารถโต้เถียงกับการพิพากษาของพระเจ้า เพราะไม่มีอะไรในใครก็ตามที่สามารถสรรเสริญพระเจ้าได้ แม้แต่เจตจำนงที่เสรีที่จะกลับมาหาพระเจ้า ถ้าใครพูดว่า "ฉันมีความสามารถนิดนึงที่จะกลับมาหาพระเจ้า" นั่นหมายความว่า เขาคิดว่ามีอะไรในเขาที่พระเจ้าต้องชื่นชมแทนที่จะกล่าวโทษ ตาของเขายังไม่ถูกปิด แต่สิ่งนี้ขัดแย้งกับพระวจนะของพระเจ้า
พระเจ้าบอกว่าปากของทุกคนถูกปิด ไม่ใช่แค่คนบางจำพวกที่ผิดบาปต่อหน้าพระเจ้า ไม่ใช่แค่พวกฟาริสีจากยิวที่พระเจ้ากล่าวโทษ ถ้าเป็นแบบนั้น ชาวยิวที่เหลือก็จะมีความสามารถบ้างที่จะรักษากฎธรรมบัผญญัติและหลีกเลี่ยงความผิดบาป แต่แม้แต่คนที่ดีที่สุดก็ถูกกล่าวโทษเพราะการเป็นคนบาป คือเขาก็เป็นคนตายในฝ่ายวิญญาณเช่นเดียวกับคนที่ไม่ได้พยายามที่จะรักษากฎธรรมบัญญัติตั้งแต่แรก มนุษย์ทุกคนเป็นคนไม่ชอบธรรม ผิดบาป และสมควรได้รับการลงโทษจากพระเจ้า สิ่งเหล่านี้ชัดเจนถึงขั้นที่ไม่มีใครสามารถกระซิบสักคำหนึ่งในการต่อว่า
การโต้วาทีข้อที่ 3: "เจตจำนงเสรี" ไม่สามารถทำให้พระเจ้ายอมรับเราได้เพราะการรักษา กฎตามบัญญัติศีลธรรมหรือกฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ
เปาโลบอกในโรม 3:20, “เพราะว่าในสายพระเนตรของพระเจ้า ไม่มีใครถูกชำระให้ชอบธรรมได้โดยการประพฤติตามธรรมบัญญัติ เพราะว่าธรรมบัญญัตินั้นทำให้เรารู้จักบาป”
พูดอีกแบบนึงก็คือว่า ไม่มีใครจะชอบธรรมในสายพระเนตรพระเจ้าด้วยการรักษากฎธรรมบัญญัติ ผมเองเชื่อว่าเวลาเปาโลพูดแบบนี้หมายความว่า กฎธรรมบัญญัติแห่งคุณธรรมและกฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ
มีแนวคิดที่กำลังนิยมอยู่หลายที่ซึ่งเปาโลหมายความว่า กฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ เท่านั้น คือ พิธีถวายเครื่องบูชาและนมัสการที่พระวิหาร เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมากที่คนที่คิดเรื่องนี้เป็นครั้งแรก คือ เจอโรม (Jerome) คนจะชอบเรียกว่าเป็น "นักบุญ" แต่ผมก็จะเรียกอย่างอื่น! เจอโรม บอกว่า
{เจอโรม (ค.ศ. 347-420) – นักแปล ผู้อธิบายพระคัมภีร์ และนักศาสนศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของคริสตจักรยุคแรก ในแปลการแปลพระคัมภีร์ภาษาละตินที่เรียกว่าภูมิฐาน (vulgate)}
การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์เป็นสิ่งที่จบความเป็นไปได้ที่จะถูกชำระให้ชอบธรรม (ถูกเรียกว่าชอบธรรม) โดยการรักษากฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ แต่ปัญหาก็คือว่า เขาเปิดความเป็นไปได้ว่า อาจจะสามารถชอบธรรมโดยการรักษากฎธรรมบัญญัติคุณธรรมได้ด้วยตัวเองปราศจากความช่วยเหลือจากพระเจ้า
คำตอบของผมก็คือว่า ถ้าเปาโลหมายความว่า กฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ เท่านั้น สิ่งที่เปาโลได้พูดในที่นี่ไม่มีความหมายเลย เปาโลกำลังยืนยันว่า ไม่มีใครเป็นคนชอบธรรม และทุกคนต้องได้รับพระคุณพิเศษจากพระเจ้า คือความรัก สติปัญญา ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าซึ่งเป็นหนทางที่พระเจ้าได้ช่วยให้พวกเรารอด
ผลกระทบของแนวคิดของเจอโรม ก็คือว่า พระคุณของพระเจ้าจำเป็นเพื่อช่วยให้เรารอดจากกฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ แต่ไม่ใช่ กฎธรรมบัญญัติแห่งคุณธรรม แต่พวกเราไม่มีความสามารถในการรักษากฎธรรมบัญญัติแห่งคุณธรรม นอกจากพระคุณของพระเจ้า จริงๆแล้วสามารถทำให้คนกลัวจนถึงบังคับให้เขารักษากฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ แต่ไม่มีพลังที่มาจากมนุษย์บนโลกใบนี้ ที่สามารถทำให้คนรักษากฎธรรมบัญญัติแห่งคุณธรรมได้ สิ่งที่เปาโลกำลังพูดในที่นี่คือว่า พวกเราไม่สามารถถูกชำระให้ชอบธรรมในสายพระเนตรพระเจ้า โดยการพยายามรักษากฎธรรมบัญญัติแห่งคุณธรรมหรือ กฎธรรมบัญญัติพิธีนมัสการต่างๆ คือการกินและดื่มและอะไรเช่นนั้น ไม่ได้ชำระให้เราชอบธรรมหรือกล่าวโทษว่าไม่ชอบธรรม
ผมจะอธิบายต่อและบอกว่า เปาโลหมายความว่ากฎธรรมบัญญัติทั้งหมด เปาโลไม่ได้พูดว่าส่วนไหนส่วนนึง ยังจำเป็นต้องปฏิบัติตามเพื่อได้รับความรอด ถ้ากฎธรรมบัญญัติไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเพื่อได้รับความรอด เพราะพระคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่บาป สิ่งเดียวที่เปาโลจำเป็นต้องทำคือจะบอกและไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น ในกาลาเทีย 3:10, เปาโลเขียนไว้ว่า, “เพราะว่าคนทั้งหลายซึ่งพึ่งการประพฤติตามธรรมบัญญัติ ก็ถูกสาปแช่ง เพราะพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า“ทุกคนที่ไม่ได้ประพฤติตามข้อความทุกข้อที่เขียนไว้ในหนังสือธรรมบัญญัติก็ถูกสาปแช่ง” ในที่นี่โมเสส บอกว่ามนุษย์ทุกคนต้องทำตามกฎธรรมบัญญัติ และใครที่ไม่เชื่อฟังกฎธรรมบัญญัติ ก็จะอยู่ใต้พระพิโรธของพระเจ้า
ไม่ว่าคนที่พยายามรักษากฎธรรมบัญญัติ หรือคนที่ไม่ได้พยายามที่จะรักษากฎธรรมบัญญัติ ก็จะถูกชำระให้ชอบธรรมต่อหน้าพระพักต์พระเจ้า เพราะมนุษย์ทุกคนได้ตายในความบาป คำสอนของเปาโลในที่นี่ก็คือว่า มีมนุษย์ 2 ประเภท คือ คนที่ใช้ชีวิตด้วยพระวิญญาณและคนที่ไม่ได้ใช้ชีวิตด้วยพระวิญญาณ (ดูที่ โรม 3:21 และ 28) คำสอนนี้ตรงกับคำสอนของพระเยซูคริสต์ ในยอห์น 3:6 “ที่เกิดจากเนื้อหนังก็เป็นเนื้อหนัง และที่เกิดจากพระวิญญาณก็เป็นวิญญาณ” สำหรับคนที่ไม่มีวิญญาณบริสุทธิ์ กฎธรรมบัญญัติไม่มีประโยชน์อะไรเลย ไม่ว่าเขาจะพยายามมากแค่ไหน พวกเขาจะไม่ถูกชำระให้ชอบธรรมนอกจากผ่านทางความเชื่อที่มาจากพระวิญญาณ
สุดท้ายแล้ว ถ้ามี "เจตจำนงเสรี" มันจะจำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในมนุษย์ เพราะว่าถ้าไม่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์ "เจตจำนงเสรี" ต้องช่วยให้มนุษย์รักษากฎธรรมบัญญัติทุกประการ! แต่เปาโลบอกว่า คนที่เป็นของ "การกระทำของกฎธรรมบัญญัติ" ก็ไม่ได้ถูกชำระให้ชอบธรรม
หมายความว่า "เจตจำนงเสรี" ที่ดีที่สุด ยังไม่สามารถทำให้มนุษย์คืนดีกับพระเจ้าได้ ในโรม 3:20 เปาโลบอกว่า กฎธรรมบัญญัติจำเป็นเพื่อจะให้เราเห็นว่าอะไรคือความบาป "เพราะว่าธรรมบัญญัตินั้นทำให้เรารู้จักบาป" พูดอีกแบบนึงก็คือ เราได้ทราบถึงความเป็นคนบาป คนจำพวกที่เป็นของ "การกระทำของกฎธรรมบัญญัติ" ไม่สามารถสังเกตว่าอะไรคือความบาปจริงๆ กฎธรรมบัญญัติไม่ได้ประทานให้มนุษย์เพื่อให้มนุษย์เห็นว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่เพื่อจะแก้ไขความคิดเห็นของมนุษย์ ว่าอะไรคือสิ่งดีและอะไรคือความบาปในสายพระเนตรพระเจ้า "เจตจำนงเสรี" ตาบอด เพราะว่าต้องสอนมันให้เข้าใจกฎธรรมบัญญัติ และมันไม่มีความสามารถอะไรเลย เพราะว่ามันไม่สามารถทำให้ใครชอบธรรมได้ในสายพระเนตรพระเจ้า
การโต้วาทีข้อที่ 4: พระเจ้าประทานกฎธรรมบัญญัติให้แก่เราเพื่อนำเรามาถึงพระคริสต์ด้วยการให้ความรู้สึกถึงของความบาป
การโต้วาทีเพื่อ "เจตจำนงเสรี" ก็คือพระเจ้าจะไม่ประทานกฎธรรมบัญญัติให้แก่เรา ถ้าเราไม่มีความสามารถที่จะเชื่อฟังได้ เอราสมัส!….
{นักมนุษยนิยมชาวดัตช์ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและนักศาสนศาสตร์โรมันคาธอลิก ได้รับการยกย่องว่าเป็น “เจ้าชายแห่งมนุษยนิยม” นักวิชาการด้านพระคัมภีร์ชั้นนำ และผู้สนับสนุนการปฏิรูปคริสตจักร โดยเชื่อว่าการศึกษาทั้งหมดต้องมีเป้าหมายในการฝึกอบรมผู้อ่านให้เข้าใจพระคัมภีร์ เขาจึงเตรียมพันธสัญญาใหม่ฉบับตีพิมพ์ของตนเองซึ่งจัดพิมพ์ในปี ค.ศ. 1516 ฉบับแปลมีพันธสัญญาใหม่เป็นภาษากรีก ฉบับแปลเป็นภาษาละติน และคำอธิบายประกอบ การแปลนี้ท้าทายความเข้าใจของโรมเกี่ยวกับพระวจนะและหลักคำสอนของโรม บางคนกล่าวในสมัยของเขาว่า “เอราสมัสวางไข่ที่ลูเธอร์ฟักออกมา” เนื่องจากการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปและพันธสัญญาใหม่ของเขาช่วยวางรากฐานของการปฏิรูปเข้าข้างโรมและยึดมั่นในหลักคำสอนเรื่องเจตจำนงเสรี เขาเขียนว่า "ด้วยเสรีภาพแห่งเจตจำนงต่อต้านลูเทอร์" ซึ่งตอบกลับด้วยคำว่า "การผูกมัดเจตจำนง" ความพยายามในภายหลังของเอราสมัสในการนำทาง "ถนนสายกลาง" ระหว่างโรมกับพวกผู้นำการปฏิรูปทำให้ผิดหวังและถึงกับทำให้พวกโปรเตสแตนต์หลายคนและคาทอลิกอนุรักษ์นิยมไม่พอใจเช่นเดียวกัน}
…ได้บอกซ้ำๆว่า "ถ้าพวกเราขาดความสามารถที่จะทำอะไร วัตถุประสงค์ของกฎธรรมบัญญัติ คำสอน คำเตือน และคำสัญญา คืออะไร? คำตอบก็คือกฎธรรมบัญญัติไม่ได้ประทานให้แก่เราเพื่อแสดงให้เราเห็นสิ่งที่เราทำได้ กฎธรรมบัญญัติไม่ได้ประทานให้แก่เราเพื่อช่วยให้เราทำสิ่งที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน เปาโลบอกในโรม 3:20 "เพราะว่าธรรมบัญญัตินั้นทำให้เรารู้จักบาป" วัตถุประสงค์ของกฎธรรมบัญญัติคือแสดงให้เราเห็นว่าอะไรคือความบาปและอะไรจะนำให้เราไปสู่ความตายนรกและพระพิโรธของพระเจ้า กฎธรรมบัญญัติสามารถชี้ให้เราเห็นได้ แต่ไม่สามารถไถ่เราจากความบาปเหล่านี้ การไถ่บาปมาจากพระเยซูคริสต์เท่านั้น ซึ่งปรากฏให้เราเห็นในพระคัมภีร์! ไม่ว่าการใช้ตรรกะหรือ "เจตจำนงเสรี" จะนำใครไปถึงพระคริสต์ได้ เพราะว่า การใช้ตรรกะ และ "เจตจำนงเสรี" โดยมันเองต้องพึ่งพาความสว่างของกฎธรรมบัญญัติเพื่อชี้ให้เห็นความป่วยของตัวเอง
Paul asks this question in กาลาเทีย 3:19, “ถ้าเช่นนั้น มีธรรมบัญญัติไว้ทำไม? ที่เพิ่มธรรมบัญญัติก็เพราะการละเมิด จนกว่าพงศ์พันธุ์ตามพระสัญญานั้นจะมาถึง พวกทูตสวรรค์ได้ตั้งธรรมบัญญัตินั้นไว้โดยมือของคนกลาง” But Paul’s answer to his own question is the opposite of yours and Jerome’s.
เปาโลถามคำถามนี้ใน กาลาเทีย 3:19, “ถ้าเช่นนั้น มีธรรมบัญญัติไว้ทำไม? ที่เพิ่มธรรมบัญญัติก็เพราะการละเมิด จนกว่าพงศ์พันธุ์ตามพระสัญญานั้นจะมาถึง พวกทูตสวรรค์ได้ตั้งธรรมบัญญัตินั้นไว้โดยมือของคนกลาง” แต่คำตอบของเปาโลถึงคำถามของเขาเป็นคำตอบที่ตรงกันข้ามกับของคุณและของเจอโรม
คุณบอกว่ากฎธรรมบัญญัติประทานให้แก่เราเพื่อพิสูจน์ว่าพวกเรามี "เจตจำนงเสรี" จริง เจอโรมบอกว่ากฎธรรมบัญญัติอยู่เพื่อจำกัดความบาป แต่เปาโลไม่ได้พูดสิ่งเหล่านี้ การโต้วาทีของเปาโลคือว่า มนุษย์ต้องได้รับพระคุณเป็นพิเศษเพื่อจะสู้กับความชั่วที่กฎธรรมบัญญัติได้ชี้ให้เราเห็น ไม่มีวิธีรักษาจนกว่าจะวินิจฉัยโรคได้
กฎธรรมบัญญัติจำเป็นเพื่อจะทำให้มนุษย์ได้เห็นสภาพที่แย่ของเรา เผื่อว่าจะได้ต้องการการรักษาที่ได้มาจากพระคริสต์เท่านั้น ดังนั้นคำของเปาโลใน โรม 3:20 อาจจะรู้สึกเหมือนง่ายเกินไป แต่คำเหล่านี้มีฤทธิ์อำนาจมากถึงขั้นที่จะทำให้ "เจตจำนงเสรี" หายไปเลย เปาโลบอกใน โรม 7:7, “เพราะว่าถ้าธรรมบัญญัติไม่ได้ห้ามว่า “ห้ามโลภ” ข้าพเจ้าก็คงไม่รู้ว่าอะไรคือความโลภ” อันนี้หมายความว่า "เจตจำนงเสรี" ไม่รู้ว่าความบาปคืออะไร! ถ้าอย่างนั้น "เจตจำนงเสรี" จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือทางที่ถูก และถ้าไม่รู้ว่าทางไหนคือทางที่ถูก จะพยายามทำอะไรที่ถูกต้องได้อย่างไร?
การโต้วาทีข้อที่ 5: หลักคำสอนความรอดด้วยความเชื่อในพระคริสต์เท่านั้น ได้พิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนที่ผิดพลาด
ในโรม 3:21-25, เปาโลสอนด้วยความมั่นใจว่า, “แต่เดี๋ยวนี้ความชอบธรรมของพระเจ้านั้นปรากฏนอกเหนือธรรมบัญญัติ ความชอบธรรมดังกล่าวก็ได้รับการยืนยันจากหมวดธรรมบัญญัติและพวกผู้เผยพระวจนะ คือความชอบธรรมของพระเจ้า ซึ่งปรากฏโดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์แก่ทุกคนที่เชื่อ โดยไม่ทรงถือว่าเขาแตกต่างกัน เพราะว่าทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า แต่พระเจ้าทรงมีพระคุณให้เขาเป็นผู้ชอบธรรมโดยไม่คิดมูลค่า โดยที่พระเยซูคริสต์ทรงไถ่เขาให้พ้นบาปแล้ว พระเจ้าได้ทรงตั้งพระเยซูไว้ให้เป็นเครื่องบูชาไถ่บาปโดยพระโลหิตของพระองค์ ความเชื่อจึงได้ผล ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นความชอบธรรมของพระเจ้า ในการที่พระองค์ได้ทรงอดกลั้นพระทัย และทรงยกบาปที่เราได้ทำไปแล้วนั้น”
คำเหล่านี้เปรียบเสมือนสายฟ้าที่ต่อต้าน "เจตจำนงเสรี" เปาโลแยกแยะความชอบธรรมที่พระเจ้าประธานให้จากความชอบธรรมที่มาจากการปฏิบัติตามกฎธรรมบัญญัติ "เจตจำนงเสรี" จะประสบความสำเร็จถ้ามนุษย์สามารถได้รับความรอดด้วยการรักษากฎธรรมบัญญัติ
แต่เปาโลอธิบายอย่างชัดเจนว่า พวกเราไม่ได้รอดด้วยการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ ไม่ว่าเราจะจินตนาการมากแค่ไหนว่า "เจตจำนงเสรี" นี้จะทำให้เราสามารถกระทำการที่ดีได้หรือเป็นพลเมืองที่ดีได้ เปาโลยังบอกว่า ความชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้เป็นคนละอย่างโดยสิ้นเชิง มันเป็นไปไม่ได้ที่ "เจตจำนงเสรี" จะอยู่รอดหลังจากโดนโจมตีจากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้
ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้มีสายฟ้าอีกอันนึงที่ต่อต้าน "เจตจำนงเสรี" ในข้อเหล่านี้เปาโลลากเส้นแยกผู้เชื่อจากผู้ที่ไม่เชื่อ (โรม 3:22) ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า "พลังเจตจำนงเสรี" นี้ ต่างกันมากกับความเชื่อในพระเยซูคริสต์ แต่ปราศจากความเชื่อในพระคริสต์ เปาโลบอกว่า ไม่มีอะไรเป็นที่ยอมรับสำหรับพระเจ้า และถ้าสิ่งไหนสิ่งใดไม่ได้เป็นที่ยอมรับสำหรับพระเจ้า มันต้องเป็นความบาป ไม่มีอะไรเป็นกลาง เพราะฉะนั้น "เจตจำนงเสรี" ถ้ามีจริง ก็เป็นความบาป เพราะขัดแย้งกับความเชื่อ และไม่ได้ถวายเกียรติแต่พระเจ้า
โรม 3:23 ก็เป็นสายฟ้าอีกอันนึง: “เพราะว่าทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า” เปาโลไม่ได้พูดว่า, “ทุกคนทำบาป ยกเว้นคนที่กระทำการดีด้วยเจตจำนงเสรี"
คือว่าไม่มีข้อยกเว้น ถ้าเป็นไปได้ที่จะทำให้พวกเราเป็นที่ยอมรับสำหรับพระเจ้าด้วย "เจตจํานงเสรี" นี้ เปาโลคงเป็นคนโกหก คือว่าเปาโลควรจะให้พื้นที่สำหรับข้อยกเว้น แต่เปาโลพูดอย่างชัดเจนว่า เพราะความบาปไม่มีใครสามารถถวายเกียรติแด่พระเจ้าหรือนมัสการอย่างจริงใจได้
ใครที่ทำให้พระเจ้าพอพระทัยต้องรู้ว่าพระเจ้าพอพระทัยพวกเขา แต่ประสบการณ์ของพวกเราสอนเราว่า ไม่มีอะไรในเราที่ทำให้พระเจ้าพอพระทัย ถามพวกที่อ้างถึง "เจตจำนงเสรี" ว่ามีอะไรในพวกเขาที่ทำให้พระเจ้าพอพระทัยหรือเปล่า เขาก็ต้องยอมรับว่าไม่มีอะไร เปาโลบอกอย่างชัดเจนว่าไม่มี
แม้แต่คนที่เชื่อใน "เจตจำนงเสรี" ก็ต้องเห็นด้วยกับผมว่า พวกเขาไม่สามารถถวายเกียติ์แด่พระเจ้าด้วยกำลังของเขาเอง แม้ว่าจะนับ "เจตจำนงเสรี" ของพวกเขา เขาก็ยังสงสัยว่า พวกเขาได้ทำให้พระเจ้าพอพระทัยแล้วหรือยัง ดังนั้นผมพิสูจน์แล้วจากพยานของมโนธรรมของพวกเขาเองว่า "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้ทำให้พระเจ้าพอพระทัย แม้แต่เราจะรวมพลังและความพยายามต่างๆทั้งหมด "เจตจำนงนองเสรีภาพ" มีความผิดบาปคือการที่ไม่เชื่อ ดังนั้นเราเห็นแล้วว่า หลักคำสอนของความรอดด้วยความเชื่อเท่านั้น ตรงกันข้ามกับแนวคิด "เจตจำนงนองเสรี"
การโต้วาทีข้อที่ 6: ไม่มีพื้นที่สำหรับแนวคิดของการทำบุญหรือการหาผลตอบแทน
พวกที่สอน "เจตจำนงเสรี" บอกว่าถ้าไม่มี "เจตจำนงเสรี" ก็ไม่มีพื้นที่สำหรับการรับบุญหรือรางวัล
แล้วพวกที่อ้างถึง "เจตจำนงเสรี" จะว่าอย่างไรเกี่ยวกับคำว่า ไม่คิดมูลค่า ในโรม 3:24? เปาโลบอกว่า "พระเจ้าทรงมีพระคุณให้เขาเป็นผู้ชอบธรรมโดยไม่คิดมูลค่า" แล้วพวกเขาคิดอย่างไรเกี่ยวกับ "พระเจ้าทรงมีพระคุณให้เขา" ถ้าความรอดเป็นสิ่งที่ได้รับแบบไม่คิดมูลค่า ก็ไม่มีทางที่จะได้รับความรอดเป็นรางวัลหรือสิ่งที่สมควรได้รับ
อย่างไรก็ตาม เอราสมัส ยังยืนยันว่ามนุษย์จำเป็นต้องมีความสามารถที่จะทำอะไรเพื่อได้รับความรอดของเขา ไม่อย่างนั้นก็จะไม่สมควรรอด เขาคิดว่าเหตุผลที่พระเจ้าชำระให้คนหนึ่งชอบทำและไม่ในอีกคนหนึ่ง ก็คือว่าคนหนึ่งได้ใช้ "เจตจำนงเสรี" และพยายามที่จะเป็นคนชอบธรรม และอีกคนหนึ่งไม่ได้ใช้ แต่สิ่งที่ทำให้พระเจ้าเป็นผู้ให้เกียรติบุคคล แต่พระคัมภีร์บอกอย่างชัดเจนว่าพระองค์ไม่ได้เป็น (กิจการ 10:34)
เอราสมัสและบางคนที่คิดเหมือนกันจะบอกว่ามนุษย์มีความสามารถที่จะทำเพียงเล็กน้อยโดยใช้ "เจตจำนงเสรี" เพื่อได้รับความรอดของเขา พวกเขาอาจจะบอกว่า "เจตจำนงเสรี" มีคุณค่าเล็กน้อยและไม่สมควรได้รับมาก แต่ในเวลาเดียวกันเขายังยืนยันว่า "เจตจำนงเสรี" นี้ ได้ทำให้มนุษย์มีความสามารถที่จะพยายามเข้าหาหาพระเจ้า เขายังยืนยันว่าถ้าใครคนใดไม่ได้พยายามหาพระเจ้า มันก็เป็นความผิดของเขา ที่เขาไม่ได้รับพระคุณของพระเจ้า
ดังนั้น ไม่ว่า "เจตจำนงเสรี" นี้ มีคุณค่ามากหรือน้อย ผลกระทบคือเหมือนเดิม: พระคุณของพระเจ้าได้รับโดยการใช้มัน แต่เปาโลได้ปฏิเสธว่าเจตว่าจํานงเสรีนี้มีคุณค่า ด้วยการใช้คำว่า "ไม่คิดมูลค่า" คือพวกที่บอกว่า "เจตจำนงเสรี" มีคุณค่าเล็กน้อย ก็แย่เท่ากับคนที่บอกว่ามีคุณค่ามาก ทั้งสองสอนว่า "เจตจํานงเสรี" มีคุณค่ามากเพียงพอที่จะทำให้เราคืนดีกับพระเจ้า เพราะฉะนั้นในความเป็นจริงก็ไม่ได้ต่างกันเลย
จริงๆแล้ว คนที่สนับสนุน "เจตจำนงเสรี" ได้ให้ตัวอย่างที่ดีของการ "กระโดดออกจากกระทะเข้าไปในไฟ" โดยการพูดถึง "เจตจำนงเสรี" เหมือนกับว่ามันมีคุณค่าเล็กน้อย เขาทำให้เรื่องนี้ซับซ้อนขึ้นแทนที่จะง่ายขึ้น อย่างน้อยก็พวกคนที่พูดถึงเจตจำนงเสรีว่ามีคุณค่ามาก (พวกเขาเรียกว่า "พวกเปลจิอัน")…
{พวกเปลจิอัน – ลัทธิหนึ่งในศตวรรษที่ 4 และ 5 ที่ปฏิบัติตามคำสอนของคนสอนเทียมเท็จ เปลจิอัส (ค. 354-c. 420) นักบวชชาวอังกฤษผู้ยืนยันว่าผู้คนสามารถปฏิรูปตนเองได้ด้วยเจตจำนงเสรีและพวกเขาสามารถก้าวออกไปสู่ความรอดโดยปราศจากความช่วยเหลือจากพระคุณของพระเจ้า ความคิดเห็นของเขาถูกประณามว่าเป็นคำสอนผิดพลาดโดยสภาเมืองเอเฟซัส (431).}
ตั้งราคาสูงสำหรับพระคุณของพระเจ้า เพราะว่าต้องมีบุญเยอะถึงจะได้รับความรอด แต่เอราสมัสทำให้พระคุณมีคุณค่าในราคาถูกมาก สามารถได้รับด้วยความพยายามเพียงเล็กน้อย แต่เปาโลเอาทั้ง 2 แนวคิดลดให้จนถึงไม่มีอะไรเลยด้วยคำว่า "ไม่คิดมูลค่า" ในโรม 3:24
ต่อไปในโรม 11:6 เปาโลบอกว่าการที่พระเจ้ายอมรับเราคือด้วยพระคุณเท่านั้น: “แต่ถ้าเป็นทางพระคุณ ก็ไม่ได้เป็นทางการประพฤติ ถ้าเป็นทางการประพฤติ พระคุณก็จะไม่เป็นพระคุณอีกต่อไป” คำสอนของเปาโลในที่นี่ก็ชัดเจน คือไม่มี "การทำบุญ" ในสายพระเนตรพระเจ้า ไม่ว่าบุญจะเล็กหรือใหญ่แค่ไหน ไม่มีใครสมควรได้รับความรอด เปาโลไล่การกระทำของ "เจตจำนงเสรี" ออกไป และตั้งพระคุณเพียงเท่านั้น เราไม่สามารถให้ความรอดขึ้นอยู่กับเราเองแม้แต่สักนิดเดียว ความรอดของเราต้องขึ้นอยู่กับพระเจ้าโดยสิ้นเชิง
การโต้วาทีข้อที่ 7: "เจตจำนงเสรี" ไม่มีคุณค่าเพราะว่า การกระทำของมนุษย์ไม่ได้เกี่ยวกับความชอบธรรมของมนุษย์ต่อหน้าพระเจ้า
ถ้าอับราฮัมถูกชำระให้ชอบธรรมโดยการประพฤติ ท่านก็มีทางที่จะอวดได้ แต่ไม่ใช่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า พระคัมภีร์ว่าอย่างไร? ก็ว่า“อับราฮัมเชื่อพระเจ้า และพระองค์ทรงถือว่าท่านเป็นคนชอบธรรม” ส่วนคนที่ทำงานก็ไม่ถือว่าค่าจ้างที่ได้นั้นเป็นบำเหน็จ แต่ถือว่าเป็นค่าแรงของงานที่ได้ทำ ส่วนคนที่ไม่ได้อาศัยการประพฤติ แต่ได้เชื่อในพระองค์ผู้ทรงให้คนอธรรมเป็นคนชอบธรรมได้ เพราะความเชื่อของคนนั้นพระเจ้าทรงถือว่าเป็นความชอบธรรม -โรม 4:2-5
ตอนนี้ผมก็จะดูคำอธิบายของเปาโลใน โรม 4:2-3: “ถ้าอับราฮัมถูกชำระให้ชอบธรรมโดยการประพฤติ ท่านก็มีทางที่จะอวดได้ แต่ไม่ใช่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า พระคัมภีร์ว่าอย่างไร? ก็ว่า“อับราฮัมเชื่อพระเจ้า และพระองค์ทรงถือว่าท่านเป็นคนชอบธรรม” เปาโลไม่ได้ปฏิเสธว่าอับราฮัมเป็นผู้ชอบธรรม จุดประสงค์คือว่าความชอบธรรมของเขาไม่ได้ช่วยให้เขาได้รับความรอด
ไม่มีใครปฏิเสธว่าการกระทำที่ชั่วจะไม่ถูกยอมรับจากพระเจ้า อันนี้ก็ชัดเจนอยู่แล้ว คือผมจะบอกว่าแม้แต่การกระทำที่ดีของเราจะไม่สามารถทำให้พระเจ้ายอมรับเราได้ คือการกระทำของมนุษย์สมควรได้รับพระพิโรธของพระเจ้าไม่ใช่ความพอพระทัย ในโรม 4:4-5 เปาโลตั้ง "คนที่ทำงาน" ต่อ "คนที่ไม่ได้อาศัยการประพฤติ" และไม่เลือกที่จะไว้ใจพระเจ้าแทน ไม่มีตำแหน่งครึ่งทาง!
การโต้วาทีข้อที่ 8: กำปั้นเต็มไปด้วยการโต้วาทีต่างๆ
ผมจำเป็นต้องพูดผ่านๆถึงการโต้วาทีที่ต่อว่า "เจตจำนงเสรีภาพ" ผมจะอ้างถึงทีละอย่างสั้นๆ แต่ๆละอย่างสามารถทำลายแนวคิด "เจตจำนงเสรี" โดยสิ้นเชิงด้วยมันเอง
เช่น ต้นกำเนิดของพระคุณซึ่งช่วยให้เรารอดเป็นพระคุณของพระเจ้าที่เป็นพระประสงค์นิรันดร์ของพระองค์ (โรม 8:28) คำนี้จำเป็นต้องกำจัดคำแนะนำว่าพระเจ้าทรงมีพระคุณต่อเราเพราะสิ่งต่างๆที่เราได้ทำ
การโต้วาทีอีกอย่างหนึ่งมีพื้นฐานในข้อเท็จจริงว่า พระเจ้าสัญญาความรอดโดยพระคุณ (ให้กับอับราฮัม) ก่อนที่พระองค์จะประทานธรรมบัญญัติ เปาโลโต้แย้งบอกว่า ถ้าเรารอดจากการรักษาธรรมบัญญัติโดย "เจตจำนงเสรี" เช่นนั้นก็หมายความว่า พระสัญญาถึงความรอดโดยพระคุณถูกยกเลิก (โรม 4:13-15; กาลาเทีย 3:15-21) ในขณะเดียวกันความเชื่อก็จะไม่มีคุณค่า
เปาโลบอกเราด้วยว่าธรรมบัญญัติ สามารถชี้ให้เห็นความบาปแต่ไม่สามารถลบความบาป
(โรม 3:20; กาลาเทีย 3:2) เพราะว่า "เจตจำนงเสรี" มีความสามารถที่จะทำในกรณีที่เราได้รักษาธรรมบัญญัติ, ไม่สามารถมีความชอบธรรมที่พอพระทัยพระเจ้าที่ได้มาจากการรักษาธรรมบัญญัติ
สุดท้ายแล้ว เราทั้งหลายอยู่ใต้พระพิโรธของพระเจ้าเพราะความบาปของอดัมคือการไม่เชื่อฟัง (โรม 5:12; 1 โครินธ์ 15:22) พวกเราตกอยู่ภายใต้พระพิโรธของพระเจ้าตั้งแต่เกิด รวมถึงพวกคนที่มี "เจตจำนงเสรี" — ถ้าพวกนี้มีจริง! ถ้าอย่างนั้น "เจตจำนงเสรี" จะช่วยเราได้อย่างไร — นอกจากช่วยให้เราทำความบาปและได้รับพระพิโรธ
ผมอาจจะไม่พูดถึงการโต้วาทีเหล่านี้ก็ได้ และเลือกที่จะอธิบายจดหมายของเปาโลตรงๆ แต่ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า ฝ่ายตรงกันข้ามของผมนั้นโง่แค่ไหน ซึ่งพลาดที่ได้เห็นสิ่งง่ายๆชัดเจน เพราะฉะนั้นผมปล่อยให้เขาพิจารณาคำโต้วาทีเหล่านี้ให้เขาเอง
การโต้วาทีข้อที่ 9: เปาโลชัดเจนที่สุดในการต่อต้าน "เจตจำนงเสรี"
การโต้วาทีของเปาโลในที่นี่ชัดเจนถึงขนาดที่เป็นเรื่องอัศจรรย์ที่ใครก็สามารถเข้าใจเขาผิดได้ เปาโลบอกว่า “พวกที่ไม่มีธรรมบัญญัติและทำบาป จะต้องพินาศโดยไม่อ้างธรรมบัญญัติ และพวกที่มีธรรมบัญญัติและทำบาป ก็จะต้องถูกพิพากษาตามธรรมบัญญัติ” (โรม 2:12) ผมเองก็ประหลาดใจที่บางคนบอกว่า "บางคนไม่ได้หลงทาง ไม่ได้เป็นคนไม่ชอบธรรม ไม่ได้เป็นคนชั่ว ไม่ได้เป็นคนบาป และมีอะไรสักอย่างในมนุษย์ที่ตั้งใจพยายามทำความดี"!
และเปาโลไม่ได้กล่าวถ้อยคำเหล่านี้เพียงแค่บางครั้งหรือนานๆที เขากล่าวพูดแบบนี้จากมุมแง่บวกบ้างและแง่ลบบ้างด้วยประโยคง่ายๆและโดยการเปรียบเทียบต่างๆ ความหมายชัดเจนของเขาและบริบททั้งหมด และการโต้วาทีทั้งหมดของเขารวมกันในนี้ — คือนอกจากผ่านทางความเชื่อในพระคริสต์ไม่มีอะไรนอกจากความบาปและการกล่าวโทษ ฝ่ายค้านของผมพ่ายแพ้แล้วแม้แต่เขายังไม่ยอมแพ้! แต่นั่นก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจของผมที่จะทำให้เกิดขึ้น ผมต้องปล่อยให้พระวิญญาณบริสุทธิ์จัดการเรื่องนั้น
การโต้วาทีข้อที่ 10: สภาพของมนุษย์ปราศจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ทำให้เราเห็นว่า "เจตจำนงเสรี" ไม่สามารถทำอะไรพิเศษได้เลย
เพราะว่าคนทั้งหลายที่อยู่ฝ่ายเนื้อหนัง ก็สนใจในสิ่งซึ่งเป็นของเนื้อหนัง แต่คนทั้งหลายที่อยู่ฝ่ายพระวิญญาณ ก็สนใจในสิ่งซึ่งเป็นของพระวิญญาณ การเอาใจใส่เนื้อหนังก็คือความตาย และการเอาใจใส่พระวิญญาณ ก็คือชีวิตและสันติสุข เพราะว่าการเอาใจใส่เนื้อหนังนั้นคือการเป็นศัตรูต่อพระเจ้า ไม่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของพระเจ้า และที่จริงไม่สามารถปฏิบัติตามได้ และคนที่อยู่ในเนื้อหนัง จะเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้าก็ไม่ได้ ถ้าพระวิญญาณของพระเจ้าสถิตอยู่ในพวกท่านแล้ว ท่านก็ไม่อยู่ในเนื้อหนัง แต่อยู่ในพระวิญญาณ ใครไม่มีพระวิญญาณของพระคริสต์ คนนั้นก็ไม่เป็นของพระองค์ -โรม 8:5-9
ในโรม 8:5 เปาโลแบ่งแยกมนุษย์เป็น 2 กลุ่ม — คนทั้งหลายที่อยู่ "ฝ่ายเนื้อหนัง" (คือธรรมชาติความบาป) และคนทั้งหลายที่อยู่ "ฝ่ายพระวิญญาณ" (ดูที่ยอห์น 3:6) อันนี้หมายความว่าคนที่ไม่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็ต้องอาศัยอยู่ในเนื้อหนัง คือยังมีธรรมชาติเป็นคนบาป เปาโลบอกว่า “ใครไม่มีพระวิญญาณของพระคริสต์ คนนั้นก็ไม่เป็นของพระองค์ (โรม 8:9).
ชัดเจนแล้วว่านี่หมายความว่าคนที่ไม่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นของมารซาตาน "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้ช่วยพวกเขาสักเท่าไหร่! เปาโลบอกว่าคนที่ถูกบีบบังคับด้วยธรรมชาติความบาป “จะเป็นคนที่ชอบพระทัยพระเจ้าก็ไม่ได้" (โรม 8:8) เปาโลบอกว่า “การเอาใจใส่เนื้อหนังนั้นคือการเป็นศัตรูต่อพระเจ้า ไม่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของพระเจ้า และที่จริงไม่สามารถปฏิบัติตามได้ (โรม 8:7). มันเป็นไปไม่ได้ที่คนเหล่านี้จะสามารถพยายามทำอะไรแม้เพียงเล็กน้อยด้วยตัวเองเพื่อที่จะทำให้พระเจ้าพอพระทัย
ผู้ชายคนหนึ่งชื่อโอริเจน…
{โอริเจน (c.185-c.254) – นักปรัชญาชาวกรีก นักศาสนศาสตร์ และนักวิชาการพระคัมภีร์ ในเมืองอเล็กซานเดรีย อียิปต์; ความคิดเห็นของเขาถูกประณามในเวลาต่อมาว่าผิดพลาด}
เขาเสนอว่าผู้ชายทุกคนมี "จิตใจ" พี่สามารถหันไปทาง "เนื้อหนัง" หรือ "พระวิญญาณ" อันนี้เป็นแค่จินตนาการของเขาเอง เขาฝันขึ้นมา! เขาไม่มีหลักฐานจากพระคัมภีร์แม้แต่สักนิดเดียว ในความเป็นจริงไม่มีตำแหน่งตรงกลาง ทุกอย่างที่ปราศจากพระวิญญาณก็เป็นเนื้อหนัง และกิจกรรมที่ดีที่สุดของเนื้อหนังก็เป็นศัตรูกับพระเจ้า อันนี้เป็นคำสอนเหมือนกับที่พระเยซูสอนใน มัทธิว 7:18 —ต้นไม้ดีจะเกิดผลเลวไม่ได้ หรือต้นไม้เลวจะเกิดผลดีก็ไม่ได้
มันสอดคล้องกับประโยคคู่นี้ของเปาโลเช่นเดียวกัน:
“เพราะว่าในข่าวประเสริฐนั้น ความชอบธรรมซึ่งเกิดมาจากพระเจ้าก็ได้สำแดงออกโดยความเชื่อ และเพื่อความเชื่อ ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า “คนชอบธรรมจะมีชีวิตดำรงอยู่โดยความเชื่อ” (โรม 1:17)
และ
“แต่คนที่มีความสงสัยอยู่นั้น ถ้าเขากินก็มีความผิด เพราะเขาไม่ได้กินตามที่ตนเชื่อ ทั้งนี้เพราะการกระทำใดๆ ที่ไม่ได้เกิดจากความเชื่อก็เป็นบาปทั้งสิ้น” (โรม 14:23).
พวกเขาที่ปราศจากความเชื่อก็ไม่ได้ถูกชำระให้ชอบธรรม และคนที่ไม่ได้ถูกชำระให้ชอบธรรมเป็นคนบาปซึ่ง "เจตจำนงเสรี" ใดๆก็ตามสามารถสร้างก็แต่ความชั่ว ดังนั้น "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้เป็นอะไรนอกจากทาสถึงความบาป ความตาย และมารซาตาน "เสรีภาพ" อย่างนี้ก็ไม่ได้เป็นเสรีภาพที่แท้จริง
การโต้วาทีข้อที่ 11: คนที่มารู้จักพระเยซูคริสต์ ก่อนหน้านั้นก็ไม่ได้นึกถึงพระองค์ และไม่ได้แสวงหาพระองค์หรือเตรียมตัวเองสำหรับพระองค์
ในโรม 10:20 เปาโลอ้างถึง อิสยาห์ 65:1: “เราพร้อมให้ผู้ไม่ได้ขอนั้นแสวงหาได้ และให้ผู้ไม่ได้เสาะหานั้นพบได้ เราพูดว่า “เราอยู่นี่ เราอยู่นี่” กับชนชาติที่ไม่ได้ถูกขนานนามตามชื่อของเรา"
เปาโลรู้จากประสบการณ์ของเขาเองว่า เขาไม่ได้แสวงหาพระคุณของพระเจ้า แต่ได้รับทั้งๆที่มีความโกรธต่อต้านพระคุณของพระเจ้า เปาโลบอกว่าในโรม 9:30-31 ว่า ชาวยิวที่ตั้งใจที่จะรักษาธรรมบัญญัติ ก็จะไม่รอดด้วยความพยายามเหล่านั้น แต่ชาวต่างชาติซึ่งเป็นคนไม่ชอบธรรมเลยได้รับพระคุณของพระเจ้า
อันนี้แสดงให้เห็นชัดว่าความพยายามทั้งหมดของ "เจตจำนงเสรี" ไร้ประโยชน์ที่จะช่วยให้เขารอด ความกระตือรือร้นของยิวไม่ได้ช่วยเขาเลย และในเวลาเดียวกันชาวต่างชาติที่ไม่ชอบธรรมได้รับความรอด! พระคุณของพระเจ้าประธานให้แบบโดยไม่คิดมูลค่าให้คนที่ไม่สมควรและไม่เหมาะสมที่จะได้รับ และไม่ได้รับเพราะความพยายามแม้แต่ความพยายามของมนุษย์ต่อให้พยายามที่สุดที่จะทำก็ตาม
การโต้วาทีข้อที่ 12: ความรอดสำหรับโลกที่เต็มไปด้วยความบาป คือด้วยพระคุณด้วยความเชื่อเท่านั้น
พระองค์ทรงอยู่ในโลกที่พระเจ้าทรงสร้างขึ้นมาทางพระองค์ แต่โลกไม่รู้จักพระองค์ พระองค์เสด็จมายังบ้านเมืองของพระองค์ แต่ชาวบ้านชาวเมืองของพระองค์ไม่ต้อนรับพระองค์ แต่ทุกคนที่ยอมรับพระองค์ คือคนที่เชื่อในพระนามของพระองค์นั้น พระองค์ก็จะประทานสิทธิให้เป็นลูกของพระเจ้า ซึ่งในฐานะนั้นพวกเขาไม่ได้เกิดจากเลือดเนื้อหรือกาม หรือความประสงค์ของมนุษย์ แต่เกิดจากพระเจ้า พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา เราเห็นพระสิริของพระองค์ คือ พระสิริที่สมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง ยอห์นเป็นพยานให้กับพระองค์ และร้องประกาศว่า “นี่แหละ คือพระองค์ผู้ที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงว่า พระองค์ผู้เสด็จมาภายหลังข้าพเจ้าทรงเป็นใหญ่กว่าข้าพเจ้า เพราะว่าพระองค์ทรงดำรงอยู่ก่อนข้าพเจ้า” เพราะเราได้รับพระคุณซ้อนพระคุณจากความบริบูรณ์ของพระองค์ -ยอห์น 1:10-16
ให้เราย้อนกลับไปดูยอห์นที่ยอห์นเขียนอย่างชัดเจนในการต่อต้าน "เจตจำนงเสรี" ใน
ยอห์น 1:5 เขาบอกว่า “ความสว่างส่องเข้ามาในความมืด และความมืดไม่อาจเอาชนะความสว่างได้"
และใน
ยอห์น 1:10-11 "พระองค์ทรงอยู่ในโลกที่พระเจ้าทรงสร้างขึ้นมาทางพระองค์ แต่โลกไม่รู้จักพระองค์ พระองค์เสด็จมายังบ้านเมืองของพระองค์ แต่ชาวบ้านชาวเมืองของพระองค์ไม่ต้อนรับพระองค์"
เวลายอห์นพูดถึง "โลก" เขาหมายความว่ามนุษยชาติทั้งหลาย ดังนั้น "เจตจำนงเสรี" จะเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมอย่างยิ่งในมนุษย์ คือต้องนึกถึงด้วยว่าเมื่อไหร่ที่ยอห์นพูดถึง "โลก" เพราะฉะนั้นตาม 2 บทพระคัมภีร์นี้ "เจตจำนงเสรี" ไม่รู้จักความสว่างแห่งความจริงและเกลียดพระคริสต์และชนชาติของพระองค์ มีอีกหลายบทเช่น ยอห์น 7:7; 8:23; 14:7; 15:19; 1 ยอห์น 2:16; 5:19 ที่ได้กล่าวว่า "โลก" (รวมถึง "เจตจำนงเสรี" อย่างยิ่ง) ก็อยู่ภายใต้อำนาจของมารซาตาน
คือ "โลก" รวมถึงทุกอย่างที่ไม่ได้แยกให้พระเจ้าโดยพระวิญญาณ เพราะฉะนั้นถ้ามีใครในโลกนี้ที่มีโดย "เจตจำนงเสรี" ได้รู้จักความจริง และด้วย "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้เกลียดพระคริสต์ ยอห์นก็จะเปลี่ยนสิ่งที่เขาได้เขียน แต่เขาไม่ได้เปลี่ยน เพราะฉะนั้นชัดเจนแล้วว่า "เจตจำนงเสรี" ผิดบาปเท่ากับ "โลก"
ในยอห์น 1:12-13, ยอห์นอธิบายต่อว่า “แต่ทุกคนที่ยอมรับพระองค์ คือคนที่เชื่อในพระนามของพระองค์นั้น พระองค์ก็จะประทานสิทธิให้เป็นลูกของพระเจ้า ซึ่งในฐานะนั้นพวกเขาไม่ได้เกิดจากเลือดเนื้อหรือกาม หรือความประสงค์ของมนุษย์ แต่เกิดจากพระเจ้า”
"เลือดเนื้อหรือกาม" หมายความว่าเป็นเรื่องไร้สาระที่จะขึ้นอยู่กับสถานที่เกิดหรือครอบครัว "หรือความประสงค์ของมนุษย์" หมายความว่าเป็นเรื่องโง่ที่จะขึ้นอยู่กับ "การกระทำธรรมบัญญัติ" คือหมายความว่าไม่มีความพยายามของมนุษย์ที่สามารถทำให้พระเจ้ายอมรับเขาได้
ถ้า "เจตจำนงเสรี" มีประโยชน์แม้เพียงสักเล็กน้อย ยอห์นไม่ควรจะปฏิเสธ "ความประสงค์ของมนุษย์" หรือไม่อย่างนั้นเขาก็จะตกอยู่ในอันตราย
อิสยาห์ 5:20: “วิบัติแก่พวกที่เรียกความชั่วว่าความดี และเรียกความดีว่าความชั่ว"
คือไม่มีความสงสัยเลยว่าการเกิดแบบธรรมชาติไม่มีประโยชน์ในการได้รับความรอดเพราะว่าใน
โรม 9:8 เปาโลเขียนไว้ว่า “หมายความว่าคนที่เป็นลูกของพระเจ้านั้นไม่ใช่ลูกของเนื้อหนัง แต่เป็นลูกของพระสัญญา จึงจะถือว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายได้”
หลังจากนั้นยอห์นบอกในยอห์น 1:16, “เพราะเราได้รับพระคุณซ้อนพระคุณจากความบริบูรณ์ของพระองค์” พูดอีกแบบหนึ่งก็คือ พระพรล้วนๆ ดังนั้นเราได้รับพระพรฝ่ายวิญญาณด้วยพระคุณโดยทางอื่นเท่านั้นไม่ใช่ด้วยความพยายามของเราเอง 2 อย่างที่ตรงกันข้ามกันไม่สามารถเป็นความจริงทั้งสองอย่างได้ พระคุณนั้นถูกมาก ไม่ว่าใครก็ตาม จะอยู่ที่ไหนก็ตาม ก็สามารถได้รับและในเวลาเดียวกัน พระคุณเป็นสิ่งที่พิเศษถึงขั้นที่เราสามารถได้รับผ่านทางการกระทำของมนุษย์ผู้เดียว คือพระเยซูคริสต์
ผมต้องการให้ฝ่ายค้านสังเกตว่าเขาได้อ้างถึง "เจตจำนงเสรี" พวกเขากำลังปฏิเสธพระเยซูคริสต์ ถ้าเราได้รับพระคุณด้วย "เจตจำนงเสรี" พวกเราไม่ต้องพึ่งพาพระคริสต์ก็ได้ และถ้าเรามีพระคริสต์ เราไม่ต้องพึ่งพา "เจตจำนงเสรี" ผู้ที่สนับสนุน "เจตจำนงเสรี" พิสูจน์การปฏิเสธพระเยซูคริสต์ของเขาด้วยการกระทำ บางคนในพวกเขา อธิษฐานกับมารีย์ และ "นักบุญ" และไม่ได้พึ่งพาพระคริสต์ ซึ่งเป็นคนกลางผู้เดียวระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า คือเขาละทิ้งพระคริสต์และการทำงานของพระองค์เป็นคนกลางพระผู้ช่วยให้รอดที่ใจดีที่สุด — และได้นึกถึงการทำงานของพระคริสต์เหมือนมีคุณค่าน้อยกว่าความพยายามของเขาเอง
การโต้วาทีข้อที่ 13: นิโคเดมัส ต่อต้าน "เจตจำนงเสรี" ใน ยอห์น บทที่ 3
มีชายคนหนึ่งในพวกฟาริสีชื่อนิโคเดมัส เป็นขุนนางของพวกยิว คนนี้มาหาพระเยซูตอนกลางคืนทูลพระองค์ว่า “ท่านอาจารย์ เราทราบว่าท่านเป็นครูที่มาจากพระเจ้า เพราะไม่มีใครทำหมายสำคัญที่ท่านนั้นทำได้ นอกจากพระเจ้าสถิตกับเขา” พระเยซูตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงกับท่านว่า ถ้าคนใดไม่ได้เกิดใหม่ คนนั้นไม่สามารถเห็นแผ่นดินของพระเจ้า” นิโคเดมัสทูลพระองค์ว่า “คนชราจะเกิดใหม่ได้อย่างไร? จะเข้าไปในท้องของแม่ครั้งที่สองแล้วเกิดใหม่ได้หรือ?” พระเยซูตรัสว่า “เราบอกความจริงกับท่านว่า ถ้าใครไม่ได้เกิดจากน้ำและพระวิญญาณ คนนั้นจะเข้าในแผ่นดินของพระเจ้าไม่ได้ ที่เกิดจากเนื้อหนังก็เป็นเนื้อหนัง และที่เกิดจากพระวิญญาณก็เป็นวิญญาณ อย่าประหลาดใจที่เราบอกท่านว่าพวกท่านต้องเกิดใหม่ ลมจะพัดไปที่ไหนก็พัดไปที่นั่น และท่านได้ยินเสียงลมนั้นแต่ไม่รู้ว่าลมมาจากไหนและไปที่ไหน คนที่เกิดจากพระวิญญาณ ก็เป็นอย่างนั้นทุกคน” นิโคเดมัสทูลพระองค์ว่า “เหตุการณ์อย่างนี้จะเป็นไปได้อย่างไร?” -ยอห์น 3:1-9
ดูคุณธรรมของนิโคเดมัสใน ยอห์น 3:1-2 เขายอมรับพระคริสต์ว่าเป็นพระผู้ช่วยให้รอดจริงและยอมรับว่าพระองค์ได้มาจากพระเจ้า เขาได้อ่านถึงการอัศจรรย์ของพระคริสต์ และเขาได้แสวงหาพระคริสต์เพื่อได้ยินเพิ่มเติมจากพระองค์ ในเวลาที่เขาได้ยินเกี่ยวกับการบังเกิดใหม่ (3:3-8), เขายอมรับหรือไม่ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เขาได้แสวงหาในอดีต? ไม่เลย! เขาตกใจและสับสนและตอนแรกๆเขาปฏิเสธเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ (3:9) แม้แต่นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดยอมรับว่าเขาไม่ได้รู้เกี่ยวกับพระคริสต์ และน้อยไปกว่านี้คือความสามารถที่จะแสวงหาสิ่งที่เป็นของความรอดก่อนที่พระเยซูคริสต์จะมา เมื่อเขายอมรับสิ่งนี้ เขากำลังยอมรับว่า "เจตจํานงเสรี" ของเขาคือความโง่เขลาและไม่มีพลังใดๆ! แน่นอนคนที่สอน "เจตจำนงเสรี" ก็บ้าไปเลย แต่พวกเขาไม่ยอมที่จะเงียบและถวายเกียรติแด่พระเจ้า
การโต้วาทีข้อที่ 14: "เจตจำนงสันติ" ไม่มีค่าอะไรเลยเพราะว่าความรอดอยู่ในพระคริสต์เท่านั้น
ยอห์น 14:6 ชัดเจนในการพูดถึงพระคริสต์ “เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต” คือว่าเราจะเจอความรอดในพระเยซูคริสต์เท่านั้น เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่อยู่นอกพระคริสต์ก็เป็นเพียงแค่ความมืด ความเท็จ และความตาย พระคริสต์จะต้องมาทำไมถ้าในธรรมชาติของมนุษย์เข้าใจทางที่จะไปหาพระเจ้าอยู่แล้ว, รู้จักความจริงของพระเจ้าแล้ว และมีส่วนร่วมในชีวิตที่มาจากพระเจ้าแล้ว?
ฝ่ายค้านจะชอบพูดว่ามนุษย์ที่ชั่วมี "เจตจำนงเสรี" แม้แต่เขาใช้ในทางที่ผิด ถ้าอย่างนั้น มีอะไรที่ดีบางอย่างในมนุษย์ที่ชั่วที่สุด และถ้าเป็นอย่างนั้นพระเจ้าไม่ยุติธรรมในการลงโทษพวกเขา
แต่ยอห์นบอกว่า "คนที่ไม่ได้วางใจก็ถูกพิพากษาอยู่แล้ว เพราะเขาไม่ได้วางใจในพระนามพระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า" -ยอห์น 3:18
แต่ถ้ามนุษย์มีสิ่งดีสิ่งนี้ที่เรียกว่า "เจตจำนงเสรี" ยอห์นคงจะต้องบอกว่า พวกเขาจะถูกพิพากษาเพราะส่วนที่ไม่ดีในพวกเขา พระคัมภีร์บอกว่า
คนที่วางใจในพระบุตรก็มีชีวิตนิรันดร์ คนที่ไม่เชื่อฟังพระบุตรก็จะไม่ได้เห็นชีวิต แต่พระพิโรธของพระเจ้าตกอยู่กับเขา -ยอห์น 3:36
สิ่งนี้จะต้องหมายความว่าทั้งหมดของมนุษย์ ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะมีส่วนหนึ่งของเขาที่กั้นเขาจากการถูกพิพากษา เขาสามารถทำบาปต่อโดยไม่ต้องกลัวอะไรเลย มั่นใจในความรู้ว่าเขาไม่สามารถถูกพิพากษาได้
อีกครั้งหนึ่งเราอ่านใน ยอห์น 3:27 ว่า “ไม่มีใครสามารถรับสิ่งใด นอกจากสิ่งที่พระเจ้าประทานจากสวรรค์ให้เขา"
สิ่งนี้จะพูดถึงความสามารถของมนุษย์ที่จะทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าได้ เฉพาะสิ่งที่มาจากเบื้องบนจะสามารถช่วยให้มนุษย์ทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าได้ แต่ "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้มาจากเบื้องบนเพราะฉะนั้น "เจตจำนงเสรี" ไม่มีคุณค่าอะไรเลย
ใน ยอห์น 3:31, ยอห์นบอกว่า, “พระองค์ผู้เสด็จมาจากเบื้องบนทรงเป็นใหญ่เหนือทุกสิ่ง ผู้ที่มาจากโลกก็อยู่ฝ่ายโลกและพูดตามอย่างโลก พระองค์ผู้เสด็จมาจากสวรรค์ทรงเป็นใหญ่เหนือทุกสิ่ง”
แน่นอน "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้มีต้นกำเนิดในสวรรค์ แต่เป็นของโลกนี้ และไม่มีความสามารถเป็นอย่างอื่น หมายความว่า "เจตจำนงเสรี" ไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่เบื้องบน แต่เป็นของสิ่งที่อยู่เบื้องล่าง
ใน ยอห์น 8:23 พระคริสต์บอกว่า “พระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “พวกท่านเป็นของเบื้องล่าง เราเป็นของเบื้องบน ท่านเป็นของโลกนี้ เราไม่ได้เป็นของโลกนี้”
ถ้าประโยคนี้มีความหมายว่า ร่างกายของเขาไม่ได้เป็นของเบื้องล่าง ประโยคนี้จะไม่มีความจำเป็นอะไรเลย เพราะเขารู้สิ่งนี้อยู่แล้ว พระคริสต์หมายความว่าเขาขาดพลังฝ่ายวิญญาณ และพลังนั้นสามารถมาจากพระเจ้าเท่านั้น
การโต้วาทีข้อที่ 15: มนุษย์ไม่มีความสามารถที่จะเชื่อข่าวประเสริฐดังนั้นความพยายามของเขาต่างๆ ไม่สามารถช่วยเขาให้รอดได้
ไม่มีใครมาถึงเราได้นอกจากพระบิดาผู้ทรงใช้เรามาจะทรงชักนำให้เขามา และเราจะให้คนนั้นเป็นขึ้นมาในวันสุดท้าย มีคำเขียนไว้ในหนังสือผู้เผยพระวจนะว่า ‘พระเจ้าจะทรงสั่งสอนพวกเขาทุกคน’ ทุกคนที่ได้ยินได้ฟังและได้เรียนรู้จากพระบิดาก็มาถึงเรา -ยอห์น 6:44-45
ใน ยอห์น 6:44, พระคริสต์บอกว่า, “ไม่มีใครมาถึงเราได้นอกจากพระบิดาผู้ทรงใช้เรามาจะทรงชักนำให้เขามา”
สิ่งนี้ทำให้ไม่มีที่ว่างสำหรับ "เจตจำนงเสรี" อย่างแน่นอน พระองค์อธิบายต่อถึงการชักนำพามาของพระบิดา “ทุกคนที่ได้ยินได้ฟังและได้เรียนรู้จากพระบิดาก็มาถึงเรา” (ข้อที่ 45).
เจตจำนงของมนุษย์โดยมันเอง ไม่มีพลังที่จะทำอะไรเพื่อเข้ามาหาพระคริสต์เพื่อความรอด แม้แต่การได้ยินถ้อยคำของข่าวประเสริฐก็ยังได้ยินอย่างไร้ประโยชน์ นอกจากพระบิดาได้พูดกับหัวใจของเราและชักนำเราเข้ามาหาพระคริสต์
เอราสมัส ต้องการที่จะมองข้ามความหมายของข้อนี้ด้วยการเปรียบเทียบมนุษย์กับแกะที่ได้ตอบผู้เลี้ยงแกะของเขาเวลาเขายื่นกิ่งไม้ให้ เขาอ้างว่ามีอะไรในมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกับข่าวประเสริฐได้ แต่ก็ยังเป็นไปไม่ได้เพราะว่าแม้แต่พระเจ้าจะทรงแสดงของประธานคือพระบุตรของพระเจ้าองค์เดียวให้แก่ผู้ไม่ชอบธรรม พวกเขาจะไม่ตอบนอกจากว่าพระองค์ได้ทำงานภายในพวกเขา
แน่นอนปราศจากการทำงานของพระบิดาในใจของมนุษย์ มนุษย์ก็มีความเป็นไปได้ที่จะข่มเหงพระคริสต์มากกว่าที่จะติดตามพระองค์ แต่เมื่อพระบิดาแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของพระบุตร ให้แก่ผู้ที่ได้รับความเข้าใจจากพระเจ้า พวกเขาก็จะชักนำมาถึงพระองค์ คือคนเหล่านี้เป็น "แกะ" อยู่แล้วและพวกเขารู้จักเสียงของผู้เลี้ยงแกะ!
การโต้วาทีข้อที่ 16: การไม่เชื่อสากลพิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนเท็จ
เมื่อพระองค์เสด็จมาแล้ว พระองค์จะทรงทำให้โลกรู้แจ้งในเรื่องความบาป ความชอบธรรม และการพิพากษา ในเรื่องความบาปนั้น คือเพราะพวกเขาไม่วางใจในเรา -ยอห์น 16:8-9
ใน ยอห์น 16:8 พระเยซูบอกว่าพระวิญญาณจะ“ทำให้โลกรู้แจ้งในเรื่องความบาป,” พูดอีกแบบหนึ่งก็คือว่า พระองค์ก็จะทำให้โลกรู้ถึงความผิดบาปของตัวเอง ในข้อที่ 9 พระองค์อธิบายว่ามีความบาป “เพราะพวกเขาไม่วางใจในเรา” ความบาปของการไม่เชื่อไม่ใช่อยู่ในผิวหนังหรือผม แต่อยู่ในสมองและเจตจำนง มนุษย์ทุกคนไม่มีการยกเว้นใครเลย ไม่ทราบถึงความจริงว่าความผิดบาปของการไม่เชื่อเท่ากับความไม่ทราบถึงพระคริสต์พระองค์เอง คือความผิดบาปของการไม่เชื่อต้องถูกสำแดงให้เขาเห็นโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่อยู่ในมนุษย์รวมถึง "เจตจำนงเสรี" ยืนต่อหน้าพระพักต์พระเจ้าด้วยการถูกตัดสินแล้ว และ "เจตจำนงเสรี" นั้นมีแค่ความสามารถที่จะเพิ่มความผิดบาปซึ่งเขายังไม่ทราบจนถึงพระเจ้าจะสำแดงให้เขาเห็น พระคัมภีร์ทั้งหมดได้กล่าวว่าพระเยซูคริสต์เป็นทางเดียวถึงความรอด ใครก็ตามที่อยู่ข้างนอกพระเยซูคริสต์ก็อยู่ใต้อำนาจของมารซาตาน ความบาป ความตาย และพระพิโรธของพระเจ้า พระเยซูคริสต์เท่านั้นสามารถช่วยมนุษย์ให้รอดจากอาณาจักรมารซาตาน พวกเราจะไม่มาถึงด้วยพลังของเราเองแต่ด้วยพระคุณของพระเจ้าเท่านั้น!
การโต้วาทีข้อที่ 17: พลังของ "เนื้อหนัง" ในผู้เชื่อที่เที่ยงแท้ได้พิสูจน์ว่า "เจตจำนงเสรี" เป็นคำสอนเท็จ
เพราะเหตุผลเดียวกัน เอราสมัส ไม่ได้สนใจการโต้วาทีของผมจาก โรม 7 และ กาลาเทีย 5. สองบทเหล่านี้ทำให้เราเห็นแล้วว่าแต่ในชีวิตของคริสเตียนแท้ พลังอำนาจของ "เนื้อหนัง" มีมากถึงขั้นที่เขาไม่สามารถทำสิ่งที่เขารู้ว่าต้องทำและต้องการที่จะทำ ธรรมชาติของมนุษย์แย่มากถึงขั้นที่ แม้แต่มนุษย์ที่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์ในใจของเขา ไม่ใช่ว่าเขาไม่สำเร็จในการทำสิ่งที่ดีเท่านั้น แต่พวกเขาจะต่อสู้สิ่งที่ดีด้วย แล้วจะมีความเป็นไปได้อะไรว่าคนที่ยังไม่เกิดใหม่จะทำอะไรดีได้?
เหมือนที่เปาโลบอกใน โรม 8:7, “เพราะว่าการเอาใจใส่เนื้อหนังนั้นคือการเป็นศัตรูต่อพระเจ้า”
ผมก็คงชอบที่จะเจอคนที่สามารถต่อต้านคำโต้วาทีนี้!
การโต้วาทีข้อที่ 18: การรู้ว่าความรอดไม่ได้ขึ้นอยู่กับ "เจตจำนงเสรี" สามารถทำให้เราสบายใจมากได้
ผมยอมรับว่าผมไม่ได้ต้องการ "เจตจำนงเสรี" แม้แต่พระเจ้าจะให้! ถ้าความรอดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผม ผมจะไม่ไหวกับความอันตรายความยากลำบากและมารซาตานต่างๆที่ผมจะต้องต่อสู้ แต่แม้แต่จะไม่มีศัตรูที่ต้องสู้ ผมไม่สามารถมั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จ คือผมจะไม่มั่นใจว่าผมได้ทำให้พระเจ้าพอพระทัยหรือมีอะไรเพิ่มเติมที่ผมควรจะทำ ผมสามารถพิสูจน์สิ่งเหล่านี้จากประสบการณ์ที่เจ็บปวดของผมในหลายปีที่ผ่านมา
แต่ความรอดของผมก็อยู่ในฝีพระหัตถ์ของพระองค์ไม่ใช่ในมือของผมเอง พระองค์ทรงซื่อสัตย์ที่จะรักษาพระสัญญาที่จะช่วยผมให้รอดได้ ไม่ใช่เพราะสิ่งที่ผมได้ทำแต่เพราะพระเมตตาอันใหญ่หลวงของพระองค์ พระเจ้าไม่ทรงโกหก พระเจ้าจะไม่ทรงยอมให้ศัตรูของผมคือมารซาตานมาแย่งผมออกจากฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ด้วย "เจตจำนงเสรี" ไม่มีสักคนนึงที่จะสามารถรอดได้ แต่ด้วยพระคุณของพระเจ้า หลายคนจะได้รับความรอด ไม่ใช่แค่นั้น แต่ผมดีใจที่จะรู้ว่าในขณะที่เป็นคริสเตียนผมสามารถทำให้พระเจ้าพอพระทัย ไม่ใช่เพราะสิ่งที่ผมได้ทำแต่เพราะพระคุณของพระเจ้า ถ้าผมทำงานน้อยเกินไปหรือดีไม่พอ พระองค์ให้อภัยสม่ำเสมอและได้สร้างผมเป็นคนที่ดีกว่าเดิม สิ่งนี้แหละเป็นเกียรติของคริสเตียนทุกคน
การโต้วาทีข้อที่ 19: พระเกียรติของพระเจ้าไม่สามารถถูกทำให้มัวหมอง
ท่านอาจจะกังวลว่ามันยากที่จะปกป้องเกียรติของพระเจ้าในเรื่องเหล่านี้ "เพราะว่า" ท่านอาจจะบอกว่า "พระเจ้าได้กล่าวโทษคนที่ช่วยตัวเองให้รอดจากความบาปไม่ได้ คือถูกบังคับให้อยู่ในสภาพอย่างนั้นเพราะพระเจ้าไม่ช่วยให้เขารอด"
เหมือนที่เปาโลบอกพวกเรา “จึงเป็นคนที่สมควรได้รับการลงโทษเหมือนอย่างคนอื่นๆ" -เอเฟซัส 2:3
แต่ท่านควรจะต้องมองอีกแบบนึง พระเจ้าควรจะได้รับเกียรติที่ซึ่งเป็นผู้ที่เมตตาทุกคนที่พระองค์ได้ชำระให้ชอบธรรมและช่วยให้รอดแม้แต่พวกเขาไม่สมควรได้รับอะไรเลย เรารู้ว่าพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้ายิ่งใหญ่ พระองค์ทรงมีพระปัญญาและทรงยุติธรรม ความยุติธรรมของพระองค์ไม่เหมือนกับความยุติธรรมของมนุษย์ คือเหนือความเข้าใจของมนุษย์
เหมือนที่เปาโลบอก โรม 11:33, “โอ พระปัญญาและความรอบรู้ของพระเจ้านั้น ล้ำลึกเท่าใด ข้อตัดสินของพระองค์นั้นเหลือที่จะหยั่งรู้ได้ และทางของพระองค์ก็เหลือที่จะสืบเสาะได้"
ถ้าเราเห็นด้วยว่าแก่นแท้ฤทธานุภาพ สติปัญญาและความรู้ของพระเจ้าก็สูงกว่าเราทั้งหลายมากมาย เราทั้งหลายก็ควรจะเชื่อว่าความยุติธรรมของพระองค์ใหญ่ยิ่งกว่าของเราและดีกว่าของเราเช่นเดียวกัน พระองค์ได้สัญญาว่า เมื่อพระองค์สำแดงพระสิริของพระองค์ให้แก่เรา เราจะเห็นอย่างชัดเจนสิ่งที่เราควรจะเชื่ออะไรตอนนี้ ว่าพระองค์ทรงยุติธรรม ทรงยุติธรรมตลอดมา และจะยุติธรรมตลอดไป (1 โครินธ์ 13:12)
ยกตัวอย่างอีกอย่างนึง ถ้าเราใช้เหตุผลแบบมนุษย์เพื่อระลึกถึงวิธีที่พระเจ้าปกครองโลกนี้ ท่านจะต้องบอกว่าไม่มีพระเจ้าหรือพระเจ้าไม่ยุติธรรม คนอธรรมประสบความสำเร็จและคนดีทนทุกข์ทรมาน (ดูที่ โยบ 12:16 สดุดี 73:12) และสิ่งนี้ดูเหมือนกับว่าไม่ยุติธรรม ดังนั้นมนุษย์หลายคนปฏิเสธว่ามีพระเจ้าอยู่จริง และบอกว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นอุบัติเหตุ
คำตอบสำหรับปัญหานี้ก็คือว่ามีชีวิตหลังจากชีวิตนี้ และทุกอย่างที่พระเจ้ายังไม่ได้ลงโทษหรือจัดการในโลกนี้ จะถูกลงโทษหรือจัดการในตอนนั้น ชีวิตนี้เป็นเพียงแค่การเตรียมพร้อมสำหรับ หรือพูดแบบนี้ดีกว่า เป็นการเริ่มต้นชีวิตที่กำลังจะมา หลายคนได้พูดถึงปัญหานี้ในทุกยุคสมัยแต่แก้ปัญหานี้ไม่ได้นอกจากการเชื่อข่าวประเสริฐที่ได้เจอในพระวจนะของพระเจ้า
มีความสว่าง 3 อย่างที่กำลังส่องแสงบนปัญหานี้: แสงแห่งธรรมชาติ แสงแห่งพระคุณ แสงแห่งพระสิริ ด้วยแสงแห่งธรรมชาติพระเจ้าดูเหมือนไม่ยุติธรรมเพราะว่าคนดีทนทุกข์ทรมานมันและคนชั่วประสบความสำเร็จ แสงแห่งพระคุณได้ช่วยเรามากขึ้น แต่ไม่สามารถช่วยในการอธิบายว่าทำไมถึงพระเจ้าลงโทษคนหนึ่งคนใดซึ่งไม่มีพลังที่จะทำอะไรนอกจากความบาป
แสงแห่งพระสิริเท่านั้นที่จะช่วยเราอธิบายเรื่องนี้ ในวันนั้นที่กำลังมาถึงที่พระเจ้าสำแดงพระองค์เป็นพระเจ้าที่ยุติธรรมโดยสิ้นเชิงแม้แต่การพิพากษาของพระองค์เหนือความเข้าใจของมนุษย์ คนชอบธรรมก็จะเชื่อว่า พระเจ้ารู้ทุกอย่างก่อนล่วงหน้าและกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง และไม่มีอะไรจะเกิดขึ้นนอกจากน้ำพระทัยของพระองค์ เพราะฉะนั้นไม่มีมนุษย์คนไหนหรือทูตสวรรค์หรือสิ่งที่พระเจ้าสร้างอย่างอื่น ที่มี "เจตจำนงเสรี" มารซาตานเป็นผู้ครองโลกนี้และจับมนุษย์ค้างไว้ในความบาปนอกจากด้วยพลังของพระวิญญาณบริสุทธิ์เขาได้รับการไถ่
This material first appeared as Section VII in The Bondage of the Will. This text is excerpted from chapter one of Born Slaves, an abridged version in modern English of Martin Luther’s The Bondage of the Will (first published in 1525).